ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวลือหนาหูว่าเจ้าชายแฮร์รี่อาจจะทรงหมั้นกับแฟนสาว Meghan Markleดาราสาวจากซีรีส์ Suits ดูเหมือนว่าเจ้าชายนายทหารผู้เคยขึ้นชื่อเรื่องความเจ้าสำราญในที่สุดก็พร้อมจะลงหลักปักฐานแม้ว่าสมเด็จย่าของพระองค์จะทรงรับรู้เรื่องการคบหาดูใจของทั้งคู่ แต่หลายคนยังกังขาว่าพระองค์จะทรงอนุญาตให้พระราชนัดดาเสกสมรสหรือไม่ เพราะการจะมาเป็นสะใภ้ราชวงศ์อังกฤษได้นั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
ทีมบาซาร์รวบรวมเกร็ดเล็กน้อย 9 ข้อสำหรับการแต่งงานกับสมาชิกราชวงศ์มาฝากแฟนๆ

1. ต้องได้รับความยินยอมจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
Meghan Markle อาจมีคุณสมบัติหลายข้อที่เหมาะสมจะเป็นสะใภ้หลวงแต่มีหนึ่งข้อที่อาจเป็นอุปสรรคเล็กๆของดาราสาวนั่นคือเธอเคยแต่งงานมาก่อนตามกฎมณเฑียรบาลตั้งแต่สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ไม่สามารถเสกสมรสกับผู้ที่เคยหย่าร้างหรือผู้ที่นับถือนิกายโรมันแคธอลิก การแต่งงานกับหญิงม่ายถือเป็นข้อห้ามของราชวงศ์อังกฤษมาหลายทศวรรษในปี 1936 เกิดวิกฤตการณ์สละราชสมบัติสาเหตุจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงยอมสละราชบัลลังก์เพื่อสมรสกับนางวอลลิสซิมพ์สันหญิงม่ายชาวอเมริกันที่เคยหย่าร้างมาหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นยังเป็นการคบหากันในขณะที่ฝ่ายหญิงยังไม่ได้หย่าจากสามีคนที่สองอีกด้วย พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์คือพระเจ้าจอร์จที่ 5 และพระราชินีแมรี่ไม่ยอมรับในความสัมพันธ์นี้ทั้งยังปฏิเสธไม่ยอมให้นางวอลลิสเข้าเฝ้าหลังการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 5 คณะรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
ในปี 2013 สืบเนื่องจากการปรับเปลี่ยนกฎการสืบราชสันตติวงศ์จึงมีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสขึ้นโดยกฎมณเฑียรบาลฉบับใหม่นี้ระบุให้พระบรมวงศานุวงศ์เพียง6 ลำดับแรกที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์เท่านั้นที่ต้องขอพระราชทานอนุญาตจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งถ้าพระองค์มิทรงเห็นชอบก็จะไม่มีการเสกสมรสในปี 2005 สมเด็จพระราชินีฯทรงยินยอมให้เจ้าฟ้าชายชารลส์เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับนางคามิลลาปาร์กเกอร์โบวล์สทั้งที่นางเคยผ่านการหย่าร้างมาแล้วเพราะฉะนั้นเมแกนก็ไม่น่าจะต้องกังวลใจไป

2. พระบรมวงศานุวงศ์จะเสกสมรสกับสามัญชนได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมเด็จพระราชินีฯเท่านั้น
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสตั้งแต่ปี 1772 ห้ามมิให้พระบรมวงศานุวงศ์เสกสมรสกับสามัญชน (ผู้ไม่มีเชื้อสายราชวงศ์หรืออภิชน) แต่ปัจจุบันหากสมเด็จพระราชินีฯทรงยินยอมการเสกสมรสกับสามัญชนย่อมเกิดขึ้นได้ในขณะที่เลดี้ไดอานาสเปนเซอร์เป็นเชื่อพระวงศ์นางคามิลลาปาร์กเกอร์โบลส์ผู้ที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลสอภิเษกสมรสด้วยเป็นครั้งที่สองนั้นนอกจากจะเป็นสามัญชนแลัวยังเป็นหญิงม่ายอีกด้วยสตรีสามัญชนอีกผู้หนึ่งที่ได้สมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์คือเคทมิดเดิลตันที่บัดนี้คือแคทเธอรีนดัชเชสส์แห่งเคมบริดจ์หลังจากเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายวิลเลี่ยมในปี 2011

3. การสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์มิได้แปลว่าจะได้เลื่อนฐานะเป็นกษัตริย์ราชินีหรือแม้แต่เจ้าหญิงเสมอไป
ถ้าพระราชินีแห่งอังกฤษอภิเษกสมรสกับสามัญชนพระราชสวามีจะมียศเป็นเจ้าชายพระราชสวามีแต่ไม่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ดังเช่นในกรณีของพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นเจ้าชายจากราชวงศ์กรีกจึงไม่สามารถดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกษัตริย์ เฉกเช่นเดียวกับเจ้าชายอัลเบิร์ตเจ้าชายจากราชวงศ์เยอรมันพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ถ้ากษัตริย์อังกฤษทรงอภิเษกสมรสพระราชชายาจะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีดังนั้นถ้าเจ้าชายวิลเลียมเสด็จขึ้นครองราชย์ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์จะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีและถ้าเมแกนสมรสกับเจ้าชายแฮร์รี่เธอจะมีตำแหน่งเป็นดัชเชสอย่างไรก็ตามเคยมีกรณียกเว้นอยู่หนึ่งกรณีนั่นคือพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ทรงครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระสวามี-พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ตั้งแต่ปี 1689 และทรงขึ้นเป็นผู้เป็นผู้ปกครองอังกฤษพระองค์เดียวหลังจากพระราชินีนาถแมรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1694 4. เมื่อเป็นเขยหรือสะใภ้หลวงแล้วห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
สถาบันกษัตริย์อังกฤษอยู่เหนือการเมืองทั้งปวงกษัตริย์อังกฤษทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร (ในทางพิธี) แต่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางเมืองใดๆไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนนเสียงหรือการหาเสียงเลือกตั้งแม้ว่าในทางปฏิบัติสมาชิกราชวงศ์อังกฤษจะสามารถทำได้แต่ทางราชวงศ์เลือกที่จะวางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเลือกที่จะลงมาสัมผัสประชาชนอย่างใกล้ชิดรวมทั้งมีบทบาทในทางสังคมสงเคราะห์มากขึ้นทำให้สถาบันกษัตริย์ได้รับความนิยมในความรู้สึกของคนอังกฤษ 5. เมื่อได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์แล้วเราไม่สามารถขานพระนามเป็นอื่นได้
อย่าคิดจะเรียกดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ด้วยชื่อเล่นสมัยครั้งยังเป็นสามัญชนว่า ‘เคท’ หรือห้ามเรียกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่2 ว่า ‘ลิซซี่’ เพราะเมื่อทรงฐานันดรศักดิ์แล้วเราต้องเรียกพระองค์ด้วยพระนามเต็มเช่นถ้าจะกล่าวถึงดัชเชสอย่างเป็นทางการจะต้องเป็นแคเธอรีนดัชเชสแห่งเคมบริดจ์และพระสวามีจะเป็นเจ้าชายวิลเลียมดยุกแห่งเคมบริดจ์ส่วนพระนามเต็มของสมเด็จพระราชินีที่ค่อนข้างยาวนั้นเราสามารถใช้คำเรียกขานที่ง่ายกว่าได้ว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’
6. ห้ามชวนเชื้อพระวงศ์เล่นเกมเศรษฐี
ขอแสดงความเสียใจกับแฟนเกมเศรษฐีด้วยเพราะถ้าอยากเป็นสะใภ้เจ้าเห็นทีว่าคุณคงต้องเลิกเล่นเกมนี้เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าเมื่อปี 2008 เจ้าชายแอนดรูดยุคแห่งยอร์คพระอนุชาของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสสั่งห้ามไม่ให้ใครเล่นเกมเศรษฐีกับเชื้อพระวงศ์เพราะพอเล่นกันติดลมแล้วก็เริ่มแสดงพฤติกรรมร้ายกาจและ “พฤติกรรมร้ายกาจ” นั้นไม่เหมาะสมกับพระจริยวัตรของผู้เป็นราชนิกูล 7. อาจต้องอดกุ้งหอยปูยามดินเนอร์ในวันเทศกาลพิเศษ
ในอดีตเชื้อพระวงศได้รับคำแนะนำให้งดเว้นอาหารจำพวกสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง เพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษหรืออาการแพ้อื่นๆแต่ปัจจุบันข้อแนะนำนี้ได้รับการผ่อนปรนอยู่บ้างทั้งนี้เพราะแม้สมเด็จพระราชินีฯจะทรงงดเว้นแต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลสกลับทรงโปรดเสวยอาหารทะเลเป็นครั้งคราว 8. สมเด็จพระราชินีฯทรงเป็นผู้นำทุกกิจกรรมของครอบครัว
เมื่อสมเด็จพระราชินีฯทรงยืนคุณต้องยืนเมื่อพระองค์ทรงนั่งคุณค่อยนั่งลงเช่นเดียวกับการร่วมโต๊ะเสวยเมื่อพระองค์ทรงเสวยพระกระยาหารคุณถึงจะลงมือได้แต่ถ้าพระองค์เสวยเสร็จแล้วคุณก็ต้องอิ่มตามพระองค์จะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาในการร่วมโต๊ะเสวยนั่นเองเพราะฉะนั้นถ้าคุณหิวมากคงต้องหวังว่าพระองค์จะทรงหิวด้วยเช่นกัน
9. การลำดับราชวงศ์จะเป็นวิถีชีวิตของคุณ
เมื่อได้เป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์ฐานันดรศักดิ์และลำดับในราชวงศ์จะกลายเป็นวิถีชีวิตของคุณการปรากฏตัวในที่สาธารณะในงานต่างๆทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการเช่น (การไปร่วมพิธีแต่งงานร่วมพิธีสวนสนามหรืออื่นๆ )จะต้องเป็นไปตามลำดับเช่นเดียวกับการร่วมโต๊ะในงานเลี้ยงพระกระยาหารก็ต้องนั่งตามลำดับการสืบสันตติวงศ์เช่นกัน
การเรียงลำดับในปัจจุบันจึงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เจ้าชายฟิลิป-พระสวามีเจ้าฟ้าชายชาร์ลสและคามิลลาดัชเชสแห่งคอร์นวอลเจ้าชายวิลเลียมและแคเธอรีนดัชเชสแห่งเคมบริดจ์และสุดท้ายคือเจ้าชายแฮร์รี่ บางทีเมแกนอาจจะได้ตำแหน่งบนโต๊ะอาหารข้างเจ้าชายแฮร์รี่ในเวลาอันใกล้นี้
เรื่อง Morgan Evans / Kris K
ที่มา Harper’s Bazaar UK

Meghan Markle อาจมีคุณสมบัติหลายข้อที่เหมาะสมจะเป็นสะใภ้หลวงแต่มีหนึ่งข้อที่อาจเป็นอุปสรรคเล็กๆของดาราสาวนั่นคือเธอเคยแต่งงานมาก่อนตามกฎมณเฑียรบาลตั้งแต่สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ไม่สามารถเสกสมรสกับผู้ที่เคยหย่าร้างหรือผู้ที่นับถือนิกายโรมันแคธอลิก การแต่งงานกับหญิงม่ายถือเป็นข้อห้ามของราชวงศ์อังกฤษมาหลายทศวรรษในปี 1936 เกิดวิกฤตการณ์สละราชสมบัติสาเหตุจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงยอมสละราชบัลลังก์เพื่อสมรสกับนางวอลลิสซิมพ์สันหญิงม่ายชาวอเมริกันที่เคยหย่าร้างมาหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นยังเป็นการคบหากันในขณะที่ฝ่ายหญิงยังไม่ได้หย่าจากสามีคนที่สองอีกด้วย พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์คือพระเจ้าจอร์จที่ 5 และพระราชินีแมรี่ไม่ยอมรับในความสัมพันธ์นี้ทั้งยังปฏิเสธไม่ยอมให้นางวอลลิสเข้าเฝ้าหลังการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 5 คณะรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี


กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสตั้งแต่ปี 1772 ห้ามมิให้พระบรมวงศานุวงศ์เสกสมรสกับสามัญชน (ผู้ไม่มีเชื้อสายราชวงศ์หรืออภิชน) แต่ปัจจุบันหากสมเด็จพระราชินีฯทรงยินยอมการเสกสมรสกับสามัญชนย่อมเกิดขึ้นได้ในขณะที่เลดี้ไดอานาสเปนเซอร์เป็นเชื่อพระวงศ์นางคามิลลาปาร์กเกอร์โบลส์ผู้ที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลสอภิเษกสมรสด้วยเป็นครั้งที่สองนั้นนอกจากจะเป็นสามัญชนแลัวยังเป็นหญิงม่ายอีกด้วยสตรีสามัญชนอีกผู้หนึ่งที่ได้สมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์คือเคทมิดเดิลตันที่บัดนี้คือแคทเธอรีนดัชเชสส์แห่งเคมบริดจ์หลังจากเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายวิลเลี่ยมในปี 2011

ถ้าพระราชินีแห่งอังกฤษอภิเษกสมรสกับสามัญชนพระราชสวามีจะมียศเป็นเจ้าชายพระราชสวามีแต่ไม่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ดังเช่นในกรณีของพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นเจ้าชายจากราชวงศ์กรีกจึงไม่สามารถดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกษัตริย์ เฉกเช่นเดียวกับเจ้าชายอัลเบิร์ตเจ้าชายจากราชวงศ์เยอรมันพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ถ้ากษัตริย์อังกฤษทรงอภิเษกสมรสพระราชชายาจะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีดังนั้นถ้าเจ้าชายวิลเลียมเสด็จขึ้นครองราชย์ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์จะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีและถ้าเมแกนสมรสกับเจ้าชายแฮร์รี่เธอจะมีตำแหน่งเป็นดัชเชสอย่างไรก็ตามเคยมีกรณียกเว้นอยู่หนึ่งกรณีนั่นคือพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ทรงครองราชบัลลังก์ร่วมกับพระสวามี-พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ตั้งแต่ปี 1689 และทรงขึ้นเป็นผู้เป็นผู้ปกครองอังกฤษพระองค์เดียวหลังจากพระราชินีนาถแมรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1694 4. เมื่อเป็นเขยหรือสะใภ้หลวงแล้วห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
สถาบันกษัตริย์อังกฤษอยู่เหนือการเมืองทั้งปวงกษัตริย์อังกฤษทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร (ในทางพิธี) แต่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางเมืองใดๆไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนนเสียงหรือการหาเสียงเลือกตั้งแม้ว่าในทางปฏิบัติสมาชิกราชวงศ์อังกฤษจะสามารถทำได้แต่ทางราชวงศ์เลือกที่จะวางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเลือกที่จะลงมาสัมผัสประชาชนอย่างใกล้ชิดรวมทั้งมีบทบาทในทางสังคมสงเคราะห์มากขึ้นทำให้สถาบันกษัตริย์ได้รับความนิยมในความรู้สึกของคนอังกฤษ 5. เมื่อได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์แล้วเราไม่สามารถขานพระนามเป็นอื่นได้
อย่าคิดจะเรียกดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ด้วยชื่อเล่นสมัยครั้งยังเป็นสามัญชนว่า ‘เคท’ หรือห้ามเรียกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่2 ว่า ‘ลิซซี่’ เพราะเมื่อทรงฐานันดรศักดิ์แล้วเราต้องเรียกพระองค์ด้วยพระนามเต็มเช่นถ้าจะกล่าวถึงดัชเชสอย่างเป็นทางการจะต้องเป็นแคเธอรีนดัชเชสแห่งเคมบริดจ์และพระสวามีจะเป็นเจ้าชายวิลเลียมดยุกแห่งเคมบริดจ์ส่วนพระนามเต็มของสมเด็จพระราชินีที่ค่อนข้างยาวนั้นเราสามารถใช้คำเรียกขานที่ง่ายกว่าได้ว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’

ขอแสดงความเสียใจกับแฟนเกมเศรษฐีด้วยเพราะถ้าอยากเป็นสะใภ้เจ้าเห็นทีว่าคุณคงต้องเลิกเล่นเกมนี้เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าเมื่อปี 2008 เจ้าชายแอนดรูดยุคแห่งยอร์คพระอนุชาของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสสั่งห้ามไม่ให้ใครเล่นเกมเศรษฐีกับเชื้อพระวงศ์เพราะพอเล่นกันติดลมแล้วก็เริ่มแสดงพฤติกรรมร้ายกาจและ “พฤติกรรมร้ายกาจ” นั้นไม่เหมาะสมกับพระจริยวัตรของผู้เป็นราชนิกูล 7. อาจต้องอดกุ้งหอยปูยามดินเนอร์ในวันเทศกาลพิเศษ
ในอดีตเชื้อพระวงศได้รับคำแนะนำให้งดเว้นอาหารจำพวกสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง เพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษหรืออาการแพ้อื่นๆแต่ปัจจุบันข้อแนะนำนี้ได้รับการผ่อนปรนอยู่บ้างทั้งนี้เพราะแม้สมเด็จพระราชินีฯจะทรงงดเว้นแต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลสกลับทรงโปรดเสวยอาหารทะเลเป็นครั้งคราว 8. สมเด็จพระราชินีฯทรงเป็นผู้นำทุกกิจกรรมของครอบครัว
เมื่อสมเด็จพระราชินีฯทรงยืนคุณต้องยืนเมื่อพระองค์ทรงนั่งคุณค่อยนั่งลงเช่นเดียวกับการร่วมโต๊ะเสวยเมื่อพระองค์ทรงเสวยพระกระยาหารคุณถึงจะลงมือได้แต่ถ้าพระองค์เสวยเสร็จแล้วคุณก็ต้องอิ่มตามพระองค์จะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาในการร่วมโต๊ะเสวยนั่นเองเพราะฉะนั้นถ้าคุณหิวมากคงต้องหวังว่าพระองค์จะทรงหิวด้วยเช่นกัน

เมื่อได้เป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์ฐานันดรศักดิ์และลำดับในราชวงศ์จะกลายเป็นวิถีชีวิตของคุณการปรากฏตัวในที่สาธารณะในงานต่างๆทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการเช่น (การไปร่วมพิธีแต่งงานร่วมพิธีสวนสนามหรืออื่นๆ )จะต้องเป็นไปตามลำดับเช่นเดียวกับการร่วมโต๊ะในงานเลี้ยงพระกระยาหารก็ต้องนั่งตามลำดับการสืบสันตติวงศ์เช่นกัน
การเรียงลำดับในปัจจุบันจึงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เจ้าชายฟิลิป-พระสวามีเจ้าฟ้าชายชาร์ลสและคามิลลาดัชเชสแห่งคอร์นวอลเจ้าชายวิลเลียมและแคเธอรีนดัชเชสแห่งเคมบริดจ์และสุดท้ายคือเจ้าชายแฮร์รี่ บางทีเมแกนอาจจะได้ตำแหน่งบนโต๊ะอาหารข้างเจ้าชายแฮร์รี่ในเวลาอันใกล้นี้
เรื่อง Morgan Evans / Kris K
ที่มา Harper’s Bazaar UK