นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญ นั่นคือการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในวโรกาสมหามงคลนี้ ฮาร์เปอร์ส บาซาร์ ประเทศไทย จึงรวบรวมเกร็ดประวัติความเป็นมาและลำดับขั้นตอนความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาให้ผู้อ่านของเราได้ทำความรู้จักราชประเพณีโบราณที่สำคัญเป็นอย่างมากนี้


ประวัติความเป็นมา
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นราชประเพณีที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานและมีความสำคัญอย่างมากในประเทศที่มีสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของประเทศ เนื่องจากพระราชพิธีดังกล่าวเป็นการเฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นพระบาทสมเด็จ-พระเจ้าอยู่หัวและเฉลิมพระเกียรติยศว่าเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นโดยสมบูรณ์ตามแบบโบราณราชประเพณี แสดงให้เห็นถึงการยอมรับจากประชาชนและนานาอารยประเทศ รวมทั้งสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในประเทศ
ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบทอดไปถึงสมัยสุโขทัย แต่การพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดอย่างไรนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็ยังแตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนปัจจุบันเรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”
จากหลักฐานที่ค้นพบยังปรากฏลำดับขั้นตอนการพระราชพิธีในสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การเตรียมพระราชพิธี พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเบื้องปลาย
การเตรียมพระราชพิธี
ในขั้นตอนนี้จะมี การเตรียมน้ำอภิเษกและน้ำสรงพระมุรธาภิเษก โดยเริ่มจากพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำมาทำเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก ตามตำราโบราณของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น น้ำอภิเษกจะต้องเป็นน้ำจาก “ปัญจมหานที” หรือแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 สายของชมพูทวีปที่เชื่อว่าไหลมาจากเขาไกรลาส ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำมหี แม่น้ำยมนา แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู แต่ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการนำน้ำจากปัญจมหานทีมาใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ใช้น้ำจากสระเกศ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี และในสมัยรัชกาลที่ 1- 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยังมีการนำน้ำจากแม่น้ำสำคัญของประเทศไทยมาใช้เพิ่มเติมอีก 5 สาย โดยเรียกว่า “เบญจสุทธิคงคา” ที่อนุโลมตามปัญจมหานทีในอินเดีย นั่นคือแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำราชบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี โดยน้ำจากแม่น้ำทั้ง 5 ได้มีการทำพิธีพลีกรรมตักมาจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดนั้นๆ

พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏและแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นอีกขั้นตอนสำคัญในการเตรียมประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นจะต้องมีการถวายพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระปรมาภิไธย (แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์) รวมทั้งต้องเชิญแผ่นดวงพระบรมราชสมภพและพระราชลัญจกรประจำรัชกาล อันเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงพระราชอิสริยยศและพระบรมเดชานุภาพ ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นมณฑลด้วย
พระราชพิธีเบื้องต้น
ประกอบไปด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัยและเจริญพระพุทธมนต์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อเข้าสู่พระราชพิธีสำคัญนี้ ขั้นตอนแรกที่จะเกิดขึ้นคือ พิธีสรงพระมุรธาภิเษก อันเป็นคติความเชื่อของพราหมณ์ที่ถือว่า การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ทรงสิทธิ์อำนาจนั้น จะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์ “มุรธาภิเษก” แปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร พิธีสรง-พระมุรธาภิเษกจึงหมายถึงการยกให้หรือแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำโดยน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีนั้น นอกจากจะได้จากเบญจสุทธิ- คงคา น้ำสี่สระที่เจือด้วยน้ำอภิเษกซึ่งทำพิธีพลีกรรมตักมาจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดต่างๆ ก็ยังเจือด้วยน้ำพระพุทธปริตรที่ได้ทำพิธีเตรียมไว้อีกด้วย
จากนั้นจึงเป็น พิธีถวายน้ำอภิเษก แต่เดิมนั้น การทรงรับน้ำอภิเษกมีความสำคัญคือแสดงความเป็นใหญ่ในแคว้นทั้ง 8 โดยราชบัณฑิตและพราหมณ์จะเป็นผู้ถวายน้ำอภิเษก แต่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล-อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภาทั้ง 8 ทิศ อันเป็นนัยแสดงถึงการเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ใน พิธีถวายสิริราชสมบัติและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่จะเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อไปนั้น จะเป็นการถวายพระสุพรรณบัฏ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ เครื่องขัตติยราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในตอนนี้ อันถือเป็นขั้นตอนสำคัญแห่งพิธี จากนั้น พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมสังข์ บัณเฑาะว์ ฆ้องชัย ฯลฯ พระอารามทั้งหลายยํ่าระฆัง พระครูพราหมณ์ฝ่ายต่างๆ ถวายพระพรชัยมงคล และพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จึงมีพระปฐมบรมราชโองการเป็นภาษาไทย
พระราชพิธีเบื้องปลาย
พระราชพิธีเบื้องปลายประกอบด้วย การเสด็จออกมหาสมาคม สถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทำพิธีประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา ถวายบังคมพระบรมศพ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ เสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร และเสด็จเลียบพระนคร
การเฉลิมพระราชมณเฑียร เป็นพระราชพิธีสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกพิธีหนึ่ง อันหมายถึงการเสด็จขึ้นประทับพระราชมณเฑียรสถาน หลังจากนั้นจะเป็น พิธีเสด็จออกสดับพระธรรมเทศนา นับเป็นอันเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ประกอบขึ้นในพระราชฐาน จากนั้นจึงเป็น พิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค เพื่อให้ราษฎรได้เฝ้าชมพระบารมี จึงเป็นอันเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างสมบูรณ์ตามแบบโบราณราชประเพณี
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ในเดือนเมษายนนี้ เป็นช่วงของการเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคมจึงจะเป็นลำดับขั้นตอนของพระราชพิธี ซึ่งถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศไทย พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมีการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ พระราชลัญจกร จากวัด พระศรีรัตนศาสดารามไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง จากนั้นในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จะมีพิธีสรงพระมุรธาภิเษก ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พิธีถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และพิธีถวายสิริราชสมบัติและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์หลังจากเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหายาตราทางสถลมารคเพื่อให้ประชาชนได้เฝ้ารับเสด็จ ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จากนั้น วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จ-พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท รับการถวายพระพรชัยมงคลจากประชาชน และเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล
ส่วนการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในช่วงเสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในช่วงเดือนตุลาคม


พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นราชประเพณีที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานและมีความสำคัญอย่างมากในประเทศที่มีสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของประเทศ เนื่องจากพระราชพิธีดังกล่าวเป็นการเฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นพระบาทสมเด็จ-พระเจ้าอยู่หัวและเฉลิมพระเกียรติยศว่าเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นโดยสมบูรณ์ตามแบบโบราณราชประเพณี แสดงให้เห็นถึงการยอมรับจากประชาชนและนานาอารยประเทศ รวมทั้งสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในประเทศ
ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบทอดไปถึงสมัยสุโขทัย แต่การพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดอย่างไรนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็ยังแตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนปัจจุบันเรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”
จากหลักฐานที่ค้นพบยังปรากฏลำดับขั้นตอนการพระราชพิธีในสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การเตรียมพระราชพิธี พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเบื้องปลาย
การเตรียมพระราชพิธี
ในขั้นตอนนี้จะมี การเตรียมน้ำอภิเษกและน้ำสรงพระมุรธาภิเษก โดยเริ่มจากพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำมาทำเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก ตามตำราโบราณของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น น้ำอภิเษกจะต้องเป็นน้ำจาก “ปัญจมหานที” หรือแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 สายของชมพูทวีปที่เชื่อว่าไหลมาจากเขาไกรลาส ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำมหี แม่น้ำยมนา แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู แต่ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการนำน้ำจากปัญจมหานทีมาใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ใช้น้ำจากสระเกศ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี และในสมัยรัชกาลที่ 1- 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยังมีการนำน้ำจากแม่น้ำสำคัญของประเทศไทยมาใช้เพิ่มเติมอีก 5 สาย โดยเรียกว่า “เบญจสุทธิคงคา” ที่อนุโลมตามปัญจมหานทีในอินเดีย นั่นคือแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำราชบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี โดยน้ำจากแม่น้ำทั้ง 5 ได้มีการทำพิธีพลีกรรมตักมาจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดนั้นๆ

ประกอบไปด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัยและเจริญพระพุทธมนต์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อเข้าสู่พระราชพิธีสำคัญนี้ ขั้นตอนแรกที่จะเกิดขึ้นคือ พิธีสรงพระมุรธาภิเษก อันเป็นคติความเชื่อของพราหมณ์ที่ถือว่า การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ทรงสิทธิ์อำนาจนั้น จะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์ “มุรธาภิเษก” แปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร พิธีสรง-พระมุรธาภิเษกจึงหมายถึงการยกให้หรือแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำโดยน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีนั้น นอกจากจะได้จากเบญจสุทธิ- คงคา น้ำสี่สระที่เจือด้วยน้ำอภิเษกซึ่งทำพิธีพลีกรรมตักมาจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดต่างๆ ก็ยังเจือด้วยน้ำพระพุทธปริตรที่ได้ทำพิธีเตรียมไว้อีกด้วย
จากนั้นจึงเป็น พิธีถวายน้ำอภิเษก แต่เดิมนั้น การทรงรับน้ำอภิเษกมีความสำคัญคือแสดงความเป็นใหญ่ในแคว้นทั้ง 8 โดยราชบัณฑิตและพราหมณ์จะเป็นผู้ถวายน้ำอภิเษก แต่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล-อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภาทั้ง 8 ทิศ อันเป็นนัยแสดงถึงการเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ใน พิธีถวายสิริราชสมบัติและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่จะเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อไปนั้น จะเป็นการถวายพระสุพรรณบัฏ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ เครื่องขัตติยราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในตอนนี้ อันถือเป็นขั้นตอนสำคัญแห่งพิธี จากนั้น พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมสังข์ บัณเฑาะว์ ฆ้องชัย ฯลฯ พระอารามทั้งหลายยํ่าระฆัง พระครูพราหมณ์ฝ่ายต่างๆ ถวายพระพรชัยมงคล และพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จึงมีพระปฐมบรมราชโองการเป็นภาษาไทย

พระราชพิธีเบื้องปลายประกอบด้วย การเสด็จออกมหาสมาคม สถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทำพิธีประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา ถวายบังคมพระบรมศพ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ เสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร และเสด็จเลียบพระนคร
การเฉลิมพระราชมณเฑียร เป็นพระราชพิธีสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกพิธีหนึ่ง อันหมายถึงการเสด็จขึ้นประทับพระราชมณเฑียรสถาน หลังจากนั้นจะเป็น พิธีเสด็จออกสดับพระธรรมเทศนา นับเป็นอันเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ประกอบขึ้นในพระราชฐาน จากนั้นจึงเป็น พิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค เพื่อให้ราษฎรได้เฝ้าชมพระบารมี จึงเป็นอันเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างสมบูรณ์ตามแบบโบราณราชประเพณี

ในเดือนเมษายนนี้ เป็นช่วงของการเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคมจึงจะเป็นลำดับขั้นตอนของพระราชพิธี ซึ่งถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศไทย พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมีการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ พระราชลัญจกร จากวัด พระศรีรัตนศาสดารามไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง จากนั้นในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จะมีพิธีสรงพระมุรธาภิเษก ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พิธีถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และพิธีถวายสิริราชสมบัติและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์หลังจากเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหายาตราทางสถลมารคเพื่อให้ประชาชนได้เฝ้ารับเสด็จ ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จากนั้น วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จ-พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท รับการถวายพระพรชัยมงคลจากประชาชน และเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล
ส่วนการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในช่วงเสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในช่วงเดือนตุลาคม