ดูเหมือนว่าเรายังต้องอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติกันต่ออีกนิด บาซาร์จึงร่วมเป็นหนี่งเสียงสนับสนุนให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปแบบแฟๆ ด้วยการรวบลิสต์ 10 Fashion Movies ที่งดงามด้วยคอสตูทออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ระดับโลกตั้งแต่ Christian Dior ไปจนถึง Hubert de Givenchy มาให้ดูกัน
ถ้าจะบอกว่าแฟชั่นกับภาพยนตร์แทบจะเป็นเรื่องเดียวกันก็ไม่น่าจะผิดนัก เพราะตั้งแต่โลกจอเงินเริ่มได้รับความนิยม แฟชั่นก็เข้าไปเติมเต็มโลกแสนหวือหวานี้แล้วเป็นที่เรียบร้อย ตั้งแต่ปี 1950 กับ Mr.Dior ได้ชื่อว่าเป็นดีไซน์เนอร์ฝรั่งเศสคนแรกๆ ที่ก้าวเข้ามากำหนดทิศทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับคนดังในภาพยนตร์ Hollywood ในขณะที่ Hubert de Givenchy ก็ได้ทำให้โลกทั้งโลกได้รู้จักคำว่า ‘Little Black Dress’ ผ่านนางเอกและไอคอนตลอดกาล Audrey Hepburn ใน Breakfast at Tiffany’s และนี่คือ 10 ภาพยนตร์ที่คุณต้องหามาดู ถ้าคุณคือคนแฟชั่นตัวจริง

Stage Fright (1950) — Christian Dior
ยุคนั้นต้องยกให้เธอคนนี้ Marlene Dietrich นางเอกที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของโลก ขนาดตัวพ่ออย่าง Alfred Hitchcock ยังต้องยอม! เธอเอ่ยปากขอร้องให้ Hitchcock ลงทุนกับภาพลักษณ์ของเธอด้วยการเชิญมิสเตอร์ดิออร์มาออกแบบเสื้อผ้าให้เธอในภาพยนต์เรื่องนี้ และดีไซน์เนอร์ผู้นี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง หากคุณอยากรู้ว่า New Look ของ Dior ที่มาพร้อมสูทกระโปรงนั้นสวยได้หลากหลายแค่ไหน คุณต้องดูเรื่องนี้
And God Created Women (1956) — Pierre Balmain
ภาพยนตร์ที่แสดงนำโดย Brigitte Bardot และถ่ายทำในช่วงฤดูร้อนที่ St. Tropez เรื่องนี้ได้ส่งให้ Brigitte Bardot ขึ้นแท่นเป็นไอคอนแฟชั่นได้ในพริบตา เดรสคอปาดสีแดงที่ออกแบบโดย Pierre Balmain สวยชนิดที่เรียกได้ว่า ‘หยุดหายใจ’
Breakfast at Tiffany’s (1961) — Hubert de Givenchy
เชื่อว่าหลายคนคงเคยดูเรื่องนี้ แต่เราก็ขอให้ดูอีกสักรอบ Audrey สวยขาดตั้งแต่ฉากแรกจนสุดท้าย ชุดที่ Holly Golightly (ชื่อในภาพยนตร์)สวมตอนต้นเรื่อง ในมือถือครัวซองต์ที่หน้าวินโดว์ Tiffany & Co. กับชุดเดรสสีดำของ Givenchy คือภาพจำที่ยังคงตราตรึงมาถึงวันนี้ และถ้าให้ถามเด็กแฟชั่น 100 คนว่าโตมาอยากสวยเหมือนใคร เชื่อว่า 90 คน (รวมทั้งหญิงและชาย) จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า Audrey Hepburn จากเรื่องนี้และชุดนี้ชัวร์!
Last Year in Marienbad (1961) — Coco Chanel
ถึงคราวคุณแม่ (ของใครหลายๆ คน) กันบ้างกับ Coco Chanel เธอเข้ามาสู่วงการจอเงินกับภาพยนตร์สวยคลาสสิคอย่าง Last Year in Marienbad กับการออกแบบชุดให้กับ Delphine Seyrig นักแสดงสาวชาวฝรั่งเศสที่ได้ชื่อว่าเป็น New Wave ของฝรั่งเศสในช่วงนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ของชายและหญิงที่พบกันผิดที่ผิดเวลาไปนิด กับฉากสวยฝันอลังการของปารีส ซึ่งแน่นอนว่าชุดสวยที่ชาเนลออกแบบนั้นสะท้อนทุกอย่างที่แบรนด์เป็น ตั้งแต่ชุด รองเท้า Two-Tone ไปจนถึงสร้อยคอมุก! It’s very Chanel!
Belle Du Jour (1967) — Yves Saint Laurent
นี่คือภาพยตร์ดราม่าและตลกร้ายอีกเรื่องที่อยากแนะนำ ผู้หญิงธรรมดาๆ ฐานะปานกลาง แต่อัพเลเวลรวยขึ้นจากการแต่งงานกับคุณหมอ แม้ชีวิตจะดูสุขสบาย แต่ในใจขาดหายและโหยหา เธอจึงลองไปเป็นโสเภณี! เพื่อสนองตัณหาและหาความแปลกใหม่! เรื่องราวว่าเก๋แล้ว เสือผ้าก็เก๋ไม่แพ้ เพราะนางเอกโสเภณีผู้นี้ ใส่โค้ทกระดุม 2 แถวที่ออกแบบโดย Yves Saint Laurent ตลอดเวลา ซึ่งโค้ทดีไซน์เหล่านี้ ยังคงมีขายอยู่จนถึงปัจจุบัน
Mistress (1975) — Karl Lagerfeld
หลายๆ นักวิจารณ์บอกว่าป๋าคาร์ลออกแบบเสื้อผ้าให้กับเรื่องนี้ได้ด้อยกว่าที่คาดหวังไปนิด เพราะหากเทียบงานของเขาที่ทำให้กับ Chanel และ Fendi แล้ว เรื่องนี้เทียบกันไม่ได้ แต่เราก็ก็อยากยกมาแนะนำ เพราะสำหรับเราแล้วงานออกแบบเป็นเรื่องของเวลาและประสบการณ์ การได้เห็นผลงานแรกของๆ คาร์ล ก็เป็นอะไรที่ควรค่าต่อการศึกษามิใช่หรือ?
American Gigolo (1980) — Giorgio Armani
เรียกว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์แฟชั่นฉบับผู้ชายที่สายบุรุษไม่ควรพลาด (เชื่อว่าหลายคนเคยดู) กับ American Gigolo ที่ส่งให้ Richard Gere ขึ้นแท่นเป็นดาราที่หล่อที่สุดชนิดแบบหลุดมาจากเตาหลอมละลาย! ไม่เพียงเท่านั้นเสื้อผ้าและลุคต่างๆ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งทฤษฏีศึกษาที่นักเรียนแฟชั่นหยิบไปเป็นตัวอย่างได้ตลอดเพราะทุกอย่างที่เรียกว่า Men’s Rules ถูกใส่ไว้บนเสื้อผ้าเรื่องนี้หมดแล้ว และถ้าถามว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง มาเฟียคนดังแห่งอิตาลี Giorgio Armani ไงละ
The Fifth Element (1997) — Jean Paul Gaultier
ภาพยนตร์เก๋โลกไม่ลืมอีกเรื่องที่เสื้อผ้าสวยเรียกเสียงกรี๊ดนั่นก็คือ The Fifth Element ทีได้ Jean Paul Gaultier มาดูแลให้แบบสวยสะใจตลอดทั้งเรื่อง ตั้งแต่ลุคของตัวเอก Milla Jovovich ในชุดคัตเอ้าท์สีขาวตัดกับผมสีแสด ไปจนถึงชุดพนักงานที่ยังคงเป็นแรงบันดาลใจอยู่จนถึงทุกวันนี้
I Am Love (2009) — Raf Simons for Jil Sander
แม้จะไม่ใช้ภาพยนตร์ในกระแสที่ทำเงินมากมาย แต่ก็เป็นอีกเรื่องที่คอสตูมสวยบาดใจ เพราะได้ตัวพ่อฝีมือดีอย่าง Raf Simons มาออกแบบให้เมื่อครั้งเป็นครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ให้กับเฮ้าส์เก๋อย่าง Jil Sander ซึ่งว่ากันว่าหลายลุคจากเรื่องนี้ ยังคงทำเงินได้ดีจากเหล่านักสะสมอีกด้วย

The Great Gatsby (2013) & James Bond: Spectre (2015)
เลือกไม่ถูกว่าจะให้เรื่องไหนดี เลยขอเลือก 2 เรื่องในข้อ 10 แล้วกัน เพราะเป็นหนังใหม่ปีไม่ลึกมากทั้งคู่ ที่ออกแบบโดย 2 พี่เบิ้มแห่งวงการแฟชั่นนั่นคือ Miucia Prada ใน The Great Gatsby และ Tom Ford จาก James Bond: Spectre ที่รายแรกออกแบบและสร้างสรรค์ไปกว่า 40 ชุด! ในขณะที่ทอมก็ทำได้ดีเยี่ยมสำหรับสาขาเสื้อผ้าบุรุษ เพราะหากผ่านมือทอมแล้ว ไม่มีใครไม่หล่อขึ้น!
ขอให้ดูเพลินดูยาวไปตลอดสัปดาห์แฟชั่น (มูฟวี่) วีคนี้นะจ๊ะสาวๆ
#BAZAARStayshome

Stage Fright (1950) — Christian Dior
ยุคนั้นต้องยกให้เธอคนนี้ Marlene Dietrich นางเอกที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของโลก ขนาดตัวพ่ออย่าง Alfred Hitchcock ยังต้องยอม! เธอเอ่ยปากขอร้องให้ Hitchcock ลงทุนกับภาพลักษณ์ของเธอด้วยการเชิญมิสเตอร์ดิออร์มาออกแบบเสื้อผ้าให้เธอในภาพยนต์เรื่องนี้ และดีไซน์เนอร์ผู้นี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง หากคุณอยากรู้ว่า New Look ของ Dior ที่มาพร้อมสูทกระโปรงนั้นสวยได้หลากหลายแค่ไหน คุณต้องดูเรื่องนี้

And God Created Women (1956) — Pierre Balmain
ภาพยนตร์ที่แสดงนำโดย Brigitte Bardot และถ่ายทำในช่วงฤดูร้อนที่ St. Tropez เรื่องนี้ได้ส่งให้ Brigitte Bardot ขึ้นแท่นเป็นไอคอนแฟชั่นได้ในพริบตา เดรสคอปาดสีแดงที่ออกแบบโดย Pierre Balmain สวยชนิดที่เรียกได้ว่า ‘หยุดหายใจ’

Breakfast at Tiffany’s (1961) — Hubert de Givenchy
เชื่อว่าหลายคนคงเคยดูเรื่องนี้ แต่เราก็ขอให้ดูอีกสักรอบ Audrey สวยขาดตั้งแต่ฉากแรกจนสุดท้าย ชุดที่ Holly Golightly (ชื่อในภาพยนตร์)สวมตอนต้นเรื่อง ในมือถือครัวซองต์ที่หน้าวินโดว์ Tiffany & Co. กับชุดเดรสสีดำของ Givenchy คือภาพจำที่ยังคงตราตรึงมาถึงวันนี้ และถ้าให้ถามเด็กแฟชั่น 100 คนว่าโตมาอยากสวยเหมือนใคร เชื่อว่า 90 คน (รวมทั้งหญิงและชาย) จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า Audrey Hepburn จากเรื่องนี้และชุดนี้ชัวร์!

Last Year in Marienbad (1961) — Coco Chanel
ถึงคราวคุณแม่ (ของใครหลายๆ คน) กันบ้างกับ Coco Chanel เธอเข้ามาสู่วงการจอเงินกับภาพยนตร์สวยคลาสสิคอย่าง Last Year in Marienbad กับการออกแบบชุดให้กับ Delphine Seyrig นักแสดงสาวชาวฝรั่งเศสที่ได้ชื่อว่าเป็น New Wave ของฝรั่งเศสในช่วงนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ของชายและหญิงที่พบกันผิดที่ผิดเวลาไปนิด กับฉากสวยฝันอลังการของปารีส ซึ่งแน่นอนว่าชุดสวยที่ชาเนลออกแบบนั้นสะท้อนทุกอย่างที่แบรนด์เป็น ตั้งแต่ชุด รองเท้า Two-Tone ไปจนถึงสร้อยคอมุก! It’s very Chanel!

Belle Du Jour (1967) — Yves Saint Laurent
นี่คือภาพยตร์ดราม่าและตลกร้ายอีกเรื่องที่อยากแนะนำ ผู้หญิงธรรมดาๆ ฐานะปานกลาง แต่อัพเลเวลรวยขึ้นจากการแต่งงานกับคุณหมอ แม้ชีวิตจะดูสุขสบาย แต่ในใจขาดหายและโหยหา เธอจึงลองไปเป็นโสเภณี! เพื่อสนองตัณหาและหาความแปลกใหม่! เรื่องราวว่าเก๋แล้ว เสือผ้าก็เก๋ไม่แพ้ เพราะนางเอกโสเภณีผู้นี้ ใส่โค้ทกระดุม 2 แถวที่ออกแบบโดย Yves Saint Laurent ตลอดเวลา ซึ่งโค้ทดีไซน์เหล่านี้ ยังคงมีขายอยู่จนถึงปัจจุบัน

Mistress (1975) — Karl Lagerfeld
หลายๆ นักวิจารณ์บอกว่าป๋าคาร์ลออกแบบเสื้อผ้าให้กับเรื่องนี้ได้ด้อยกว่าที่คาดหวังไปนิด เพราะหากเทียบงานของเขาที่ทำให้กับ Chanel และ Fendi แล้ว เรื่องนี้เทียบกันไม่ได้ แต่เราก็ก็อยากยกมาแนะนำ เพราะสำหรับเราแล้วงานออกแบบเป็นเรื่องของเวลาและประสบการณ์ การได้เห็นผลงานแรกของๆ คาร์ล ก็เป็นอะไรที่ควรค่าต่อการศึกษามิใช่หรือ?

American Gigolo (1980) — Giorgio Armani
เรียกว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์แฟชั่นฉบับผู้ชายที่สายบุรุษไม่ควรพลาด (เชื่อว่าหลายคนเคยดู) กับ American Gigolo ที่ส่งให้ Richard Gere ขึ้นแท่นเป็นดาราที่หล่อที่สุดชนิดแบบหลุดมาจากเตาหลอมละลาย! ไม่เพียงเท่านั้นเสื้อผ้าและลุคต่างๆ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งทฤษฏีศึกษาที่นักเรียนแฟชั่นหยิบไปเป็นตัวอย่างได้ตลอดเพราะทุกอย่างที่เรียกว่า Men’s Rules ถูกใส่ไว้บนเสื้อผ้าเรื่องนี้หมดแล้ว และถ้าถามว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง มาเฟียคนดังแห่งอิตาลี Giorgio Armani ไงละ

The Fifth Element (1997) — Jean Paul Gaultier
ภาพยนตร์เก๋โลกไม่ลืมอีกเรื่องที่เสื้อผ้าสวยเรียกเสียงกรี๊ดนั่นก็คือ The Fifth Element ทีได้ Jean Paul Gaultier มาดูแลให้แบบสวยสะใจตลอดทั้งเรื่อง ตั้งแต่ลุคของตัวเอก Milla Jovovich ในชุดคัตเอ้าท์สีขาวตัดกับผมสีแสด ไปจนถึงชุดพนักงานที่ยังคงเป็นแรงบันดาลใจอยู่จนถึงทุกวันนี้

I Am Love (2009) — Raf Simons for Jil Sander
แม้จะไม่ใช้ภาพยนตร์ในกระแสที่ทำเงินมากมาย แต่ก็เป็นอีกเรื่องที่คอสตูมสวยบาดใจ เพราะได้ตัวพ่อฝีมือดีอย่าง Raf Simons มาออกแบบให้เมื่อครั้งเป็นครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ให้กับเฮ้าส์เก๋อย่าง Jil Sander ซึ่งว่ากันว่าหลายลุคจากเรื่องนี้ ยังคงทำเงินได้ดีจากเหล่านักสะสมอีกด้วย


เลือกไม่ถูกว่าจะให้เรื่องไหนดี เลยขอเลือก 2 เรื่องในข้อ 10 แล้วกัน เพราะเป็นหนังใหม่ปีไม่ลึกมากทั้งคู่ ที่ออกแบบโดย 2 พี่เบิ้มแห่งวงการแฟชั่นนั่นคือ Miucia Prada ใน The Great Gatsby และ Tom Ford จาก James Bond: Spectre ที่รายแรกออกแบบและสร้างสรรค์ไปกว่า 40 ชุด! ในขณะที่ทอมก็ทำได้ดีเยี่ยมสำหรับสาขาเสื้อผ้าบุรุษ เพราะหากผ่านมือทอมแล้ว ไม่มีใครไม่หล่อขึ้น!
ขอให้ดูเพลินดูยาวไปตลอดสัปดาห์แฟชั่น (มูฟวี่) วีคนี้นะจ๊ะสาวๆ
#BAZAARStayshome