สิ้นสุดการรอคอยสำหรับการจัดการแข่งขัน Olympics 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในปีนี้ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้งานต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ซึ่งในวันที่ 23 กรกฎาคม 2021 ถือเป็นฤกษ์งามยามดีในการจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับได้ว่าเป็นพิธีที่มีมาตราการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และนี่คือ 13 เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของงานนี้


หลังจากจัดงานฤดูร้อนในปี 1964 ก็ตามมาด้วยงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ซัปโปโรในปี 1988 ส่วนปี 2020 นี้ ก็เป็นโอลิมปิกฤดูร้อนในโตเกียวอีกครั้ง
นอกจากนี้โตเดียวได้จัดงานพาราลิมปิกของปีนี้ในวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 5 กันยายน 2021 หลังงานโอลิมปิกสองสัปดาห์ ทำให้เป็นเมืองเดียวในโลกที่ได้จัดงานพาราลิมปิก 2 ครั้ง (ครั้งแรกใน 1964)
ในปี 1936 โตเกียวได้ถูกนำเสนอให้เป็นเจ้าภาพงานโอลิมปิก 1940 แต่ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ II เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ได้กลายเป็นเมืองสำรอง แต่เมืองภาวะสงครามแล้วทุกอย่างเลยถูกเลื่อนออกไป






1. ความเท่าเทียมในขั้นตอนการกล่าวปฏิญาณตน
การสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ จากเดิมจะมีนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินอย่างละ 1 คน จะเพิ่มเป็นชายหญิงประเภทละคน รวมทั้งหมดเป็น 6 คน2. ปรับคำปฏิญาณตนใหม่ในพิธีเปิดโอลิมปิก
โดยในส่วนของนักกีฬา พูดว่า “ในนามของนักกีฬาทั้งหมด” ในส่วนของผู้ฝึกสอน พูดว่า “ในนามของผู้ฝึกสอนทั้งหมด” และ ในส่วนของผู้ตัดสิน พูดว่า “ในนามของผู้ตัดสินทั้งหมด”3. จำนวนนักกีฬาจาก 205 ประเทศทั่วโลก
ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 11,000 คนจาก 205 ประเทศจะเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก 2020 กับกีฬาทั้งหมด 33 ประเภท
4. โตเกียวเป็นเจ้าภาพงานโอลิมปิกมาแล้ว รวมครั้งนี้ นับว่าเป็นงานที่ 2
โอลิมปิกจัดครั้งแรกที่กรุงโตเกียวในปี 1964 เดือนตุลาคม
5. โตเกียวคือเมืองแรกในเอเชียที่ได้จัดงานโอลิมปิก
หลังจากจัดงานฤดูร้อนในปี 1964 ก็ตามมาด้วยงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ซัปโปโรในปี 1988 ส่วนปี 2020 นี้ ก็เป็นโอลิมปิกฤดูร้อนในโตเกียวอีกครั้ง
6. โตเกียวคือเมืองแรกในโลกที่จัดพาราลิมปิกสองครั้ง
นอกจากนี้โตเดียวได้จัดงานพาราลิมปิกของปีนี้ในวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 5 กันยายน 2021 หลังงานโอลิมปิกสองสัปดาห์ ทำให้เป็นเมืองเดียวในโลกที่ได้จัดงานพาราลิมปิก 2 ครั้ง (ครั้งแรกใน 1964)
7. ความจริงแล้วโตเกียวต้องเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 1940
ในปี 1936 โตเกียวได้ถูกนำเสนอให้เป็นเจ้าภาพงานโอลิมปิก 1940 แต่ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ II เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ได้กลายเป็นเมืองสำรอง แต่เมืองภาวะสงครามแล้วทุกอย่างเลยถูกเลื่อนออกไป

8. โตเกียว 2020 จะมีการแข่งขันกีฬาชนิดใหม่
กีฬาใหม่ถึง 4 ชนิดจะมาเปิดตัวที่โตเกียว โอลิมปิก 2020 ได้แก่ คาราเต้ สเก็ตบอร์ด การปีนผา และเซิร์ฟ ที่เปิดให้เล่นด้วยตัวเองที่สนามกีฬาในโตเกียว ส่วน เบสบอลล์และซอฟต์บอลล์จะกลับมาอีกครั้งหลังจากที่หายไปจากโอลิมปิกตั้งแต่ปี 2008
9. สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่นได้ออกแบบโดยสถาปนิกก้องโลก Zaha Hadid
ความสง่างามของ สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น หนึ่งในสถานที่จัดงานโอลิมปิกจะกลายเป็นหมุดใหม่สำหรับการท่องเที่ยวในโตเกียวเมื่อประเทศเปิด ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษครึ่งอีรัก Zaha Hadid โดยสนามกีฬาแห่งนี้มีขนาด 200,000 ตารางเมตร และใช้งบประมาณ 157 ล้านเยน (ประมาณ 47 ล้านบาท )ในการก่อสร้าง10. สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่นสร้างขึ้นจากไม้ที่รวบรวมจากทุกพื้นที่ในญี่ปุ่น
ตามสไตล์แบบ เคนโกะ คุมะ สเตเดียมทั้งหมดทั้งด้านในและด้านนอกสร้างจากไม้ที่คัดมาจาก 47 จังหวัดของญี่ปุ่น สถาปนิกได้ให้นิยามโครงสร้างว่าเป็น ต้นไม้ที่มีชีวิต และวางไม้ตามแนวลมเพื่อการไหลเวียนระบายอากาศเพื่อลดการเปิดแอร์นั่นเอง
11. โตเกียวโอลิมปิก 2020 มุ่งไปที่ความยั่งยืน
เพื่อโปรโมตความยั่งยืน โอลิปิกปีนี้ได้เปลี่ยนโฉมสถานที่เก่าๆ ที่เคยจัดงานในปี 1964 ให้ดูทันสมัย แม้แต่โพเดี่ยม ยูนิฟอร์ม และเหรียญรางวัล ก็ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทั้งนั้น แม้แต่เตียงในหมู่บ้านโอลิมปิกยังผลิตจากกล่องกระดาษ เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นอย่างอื่นเมื่อเกมส์สิ้นสุดแล้ว12. เหรียญรางวัลโอลิมปิกทั้ง 5,000 เหรียญ ผลิตจากโลหะล้ำค่าที่สกัดจากขยะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก
ก่อนจะจัดงาน ทางเจ้าภาพได้ประกาศรับบริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกไม่ใช้แล้วเช่น โทรศัพท์มือถือ เพื่อนำไปแยกชิ้นส่วนและหลอมเหรียญรางวัลขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้มอบรางวัลในงานโอลิมปิกและพาราลิมปิก ที่เปิดรับนานถึง 2 ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2017 ถึง มีนาคม 2019 ทางที่รับบริจาคท้องถิ่นได้รับบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกมากถึง 78,985 ตัน ส่วนร้าน NTT Docomo ได้รับมือถือ 6.21 ล้านเครื่องเลยดีเทียว
13. คบเพลิงของโตเกียวโอลิมปิกได้แรงบันดาลใจจากดอกซากุระ
คบเพลิงสวยสะกดตาของโตเกียวโอลิมปิกได้ออกแบบเหมือนดอกซากุระ สัญลักษณ์เด่นเเห่งประเทศญี่ปุ่น ต้นแบบนี้กะว่าจะให้รับกับช่วงดอกซากุระบานในเดือนมีนาคม โดยผลิตจากเมทัลชีทแผ่นเดียวด้วยเทคโนโลยีเดียวกันที่ผลิตรถไฟชินคันเซน