ผ่านพ้นไปอีกปีสำหรับการประกาศรางวัล Academy Awards หรือว่า Oscars ครั้งที่ 94 ประจำปี 2022 เวทีที่ได้ชื่อว่าใหญ่และสำคัญที่สุดของวงการภาพยนตร์ แน่นอนว่าจากที่ได้เห็นกันทั่วอินเทอร์เน็ตกับไวรัลโมเมนต์มากมาย รวมถึงอีกหลายประวัติศาสตร์และตำนานที่เกิดขึ้นในปีนี้ จนทำให้กระแสที่ซบเซามาหลายปีกลับมาคึกคักในทันที คราวนี้เราขอมาพูดถึงรางวัลใหญ่ที่สุดของงานนี้กันดีกว่า อย่างรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) ที่ตกเป็นของภาพยนตร์อินดี้ฟอร์มเล็ก แต่เต็มไปด้วยความอบอุ่นหัวใจ และเส้นทางของภาพยนตร์ที่เกือบจะไม่ได้ถ่ายทำเพราะโดนถอนทุน เพราะไม่มีนักแสดงชื่อดังมาเป็นแม่เหล็ก สู่การฉายอย่างเงียบๆ ในเทศกาลภาพยนตร์ ก่อนที่จะเดินสายกวาดรางวัลจากผู้ชมและนักวิจารณ์ ด้วยกระแสปากต่อปาก กลายเป็นม้ามืดปาดรางวัลไปครอง และนี่คือ 10 เหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรดูภาพยนตร์เรื่องนี้

1. ง่ายๆ ก็เพราะเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปีนี้จาก Oscars เวทีการประกาศรางวัลที่ใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมบันเทิง
เริ่มต้นกันด้วยเหตุผลง่ายๆ ข้อนี้ที่ว่าทำไมคุณต้องดูภาพยนตร์ CODA (โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง) เรื่องนี้ จากภาพยนตร์อินดี้ทุนต่ำ ที่เปิดตัวอย่างเงียบๆ ในเทศกาลภาพยนตร์ Sundance เมื่อต้นปี 2021 ก่อนที่จะเริ่มกลายเป็นกระแสปากต่อปาก กับความเป็นภาพยนตร์แนว coming of age ฟีลกู๊ด อบอุ่นหัวใจ ผลงานการกำกับของ Sian Heder ผู้กำกับชาวอเมริกัน ว่าด้วยเรื่องราวของ Ruby Rossi (รับบทโดย Emilia Jones) เด็กสาววัย 17 ปี สมาชิกเพียงคนเดียวที่ได้ยินปกติ ในครอบครัวผู้พิการทางการได้ยิน (CODA, child of deaf adults) ทำให้ตลอดทั้งชีวิตของเธอต้องรับบทเป็นล่ามและช่วยงานบทเรือประมงของพ่อ แม่ และพี่ชายของเธอ (รับบทโดย Troy Kotsur, Marlee Matlin และ Daniel Durant) โดยครอบครัวของเธอคิดว่าชีวิตแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว แต่ตัว Ruby เองกลับคิดว่าเธอต้องมีชีวิตที่ดีกว่านี้ และความฝันที่เธอค้นพบ จากพรสวรรค์การร้องเพลงท่ามกลางของครอบครัวที่ไม่มีทางได้ยินเสียงของเธอ
ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าตา Apple TV+ ค่ายสตรีมมิ่งยักษใหญ่หน้าใหม่มาแรง จนได้กลายเป็นภาพยนตร์ Apple Original Films ออกฉายในวันที่ 13 สิงหาคม 2021 และเดินสายคว้าคำชมจากผู้ชม นักวิจารณ์และกวาดรางวัลมาแล้วทั้งเวที Producers Guild, Screen Actors Guild, Writers Guild awards และล่าสุดกับ Academy Awards หรือว่า Oscars ในสาขาใหญ่สุดของงาน เอาชนะคู่แข่งอย่าง Belfast, Don’t Look Up, Drive My Car, Dune King Richard, Licorice Pizza, Nightmare Alley, The Power of The Dog และ West Side Story
โดยในตอนแรกมีการรายงานว่า CODA ไม่ได้อยู่ในสายตาของออสการ์เท่าไรนัก เรียกง่ายๆ ว่าไม่ได้เป็นตัวเต็งแต่อย่างใด แต่หลังจากที่มีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และผู้คณะกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนได้รับชม ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็กลายเป็นตัวเต็ง และคว้ารางวัลไปได้ในที่สุด

2. เพราะเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ที่นับว่าดูง่ายที่สุดแล้วก็ว่าได้
ด้วยความที่เป็นรางวัลสาขาใหญ่ที่สุดของเวที แน่นอนว่าภาพยนตร์เรื่องใดก็ตามที่กลายเป็นผู้ชนะ มักจะกลายเป็นที่วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เป็นประจักษ์สมหรือไม่สมรางวัลอะไรก็ว่าไป แต่ถ้าหากเราเป็นเพียงผู้ชมธรรมดาๆ ที่อยากดูภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงสักเรื่อง โดยถ้าหากดูจากทำเนียบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีที่ผ่านๆ มา CODA นับว่าครบเครื่อง ชวนติดตามจนเราแทบจะไม่ได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นฆ่าเวลาแต่อย่างใด
แม้เนื้อเรื่องจะไม่ได้แปลกใหม่อะไร หรือคาดเดาอะไรไม่ได้ แต่ความเพลย์เซฟที่ทำอย่างถูกต้องและถูกจุด ด้วยเรื่องราวของคนธรรมดาๆ ที่เราเข้าถึงได้ การไล่ล่าหาความฝัน จุดเปลี่ยนชีวิต การตัดสินใจ ดราม่าครอบครัว เสียงเพลง และที่สำคัญกับการบิวท์อารมณ์ด้วยฉากเรียกน้ำตาทั้งหลาย ที่ทำให้เราทั้งเศร้า สุข อบอุ่นหัวใจ เป็นพลังงานบวกที่คนทั่วโลกน่าจะกำลังมองหากันอยู่ในช่วงนี้
3. เพราะ Troy Kotsur สร้างประวัติศาสตร์นักแสดงชายผู้พิการทางการได้ยินคนแรกที่คว้าออสการ์
ด้วยบทบาทของ Frank Rossi พ่อของนางเอก ที่ไม่ว่าเมื่อไรที่เขาปรากฏตัวออกมาก็มักจะแย่งซีนด้วยความซื่อๆ และเรียกเสียงหัวเราะได้ทุกครั้ง กับความเป็นธรรมชาติของเขาและตัวละครนี้ โดย Troy Kotsur นักว่าเป็นนักแสดงชายผู้พิการทางการได้ยินคนแรก ที่คว้ารางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมไปครอง และเป็นคนที่สองในประวัติศาสตร์ออสการ์ที่สามารถคว้ารางวัลไปได้ ส่วนคนแรกนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นเพื่อนนักแสดงผู้รับบทภรรยาของเขาอย่าง Marlee Matlin ที่คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก Children of a Lesser God ไปได้ในปี 1987 นอกจากที่เขากล่าวสปีชรับรางวัลด้วยภาษามือเพื่อขอบคุณทีมงานและครอบครัวของเขาแล้ว ผู้ชมในงานยังพร้อมใจกันร่วมแสดงความยินดีกับเขาด้วยการแสดงภาษามือ
โดยนักแสดงชายผู้สร้างประวัติศาสตร์คนนี้ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ abc ว่า “ผมดีใจที่ฮอลลีวู้ดเริ่มมองเห็นความสามารถของคนหูหนวกสักที ผมหวังว่ามันจะเปลี่ยนมุมมองของพวกเขา จากแทนที่จะคิดแต่เพียงว่าคนหูหนวกเป็นกลุ่มคนที่น่าสงสาร แต่พวกเราก็มีภาษา มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองเหมือนกัน”
4. เพราะมีอีกหนึ่งรางวัลการันตีคุณภาพด้วยบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 สาขาและกวาดไปได้ครอบทุกสาขา โดยในสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมนี้ สามารถเฉือนเอาชนะผู้เข้าชิงที่นับว่าหินไม่เบาอย่าง Drive My Car, Dune, The Lost Daughter และ The Power of the Dog
สำหรับ CODA เป็นบทภาพยนตร์ดัดแปลงจากภาพยนตร์ภาษาฝรั่งเศสเรื่อง La Famille Bélier (2014) กำกับโดย Éric Lartigau ซึ่ง Sian Heder ผู้กำกับของเรื่องได้เขียนบทร่วมกับ Alexandria Wailes ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามือ (ASL) ในการถ่ายทอดเรื่องราวให้ถูกต้องตามภาษามือ
5. เพราะทีมนักแสดงเป็นผู้พิการทางการได้ยินจริงๆ ทั้งหมด
ด้วยเป้าหมายที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของผู้พิการทางการได้ยินแล้ว ถ้าหากจะใช้นักแสดงปกติมารับบทก็คงจะดูเป็นเรื่องที่ชวนสงสัยอยู่ ดังนั้นนักแสดงคนแรกที่ได้รับการแคสเข้าร่วมทีมจึงเป็น Marlee Matlin ที่ชื่อของเธอพอจะคุ้นเคยอยู่แล้วในวงการฮอลลีวู้ด ตามมาด้วย Troy Kotsur ผู้ผ่านเส้นทางการแสดงแบบลุ่มๆ ดอนๆ จบเกือบจะหมดหวังหมดตัวไปแล้ว และ Daniel Durant ผู้มารับบทเป็นลูกชายคนโตของบ้าน เมื่อได้ทีมนักแสดงครบแล้ว ขาดแต่เพียงคนเดียวก็คือผู้ที่จะมารับบทเป็น Ruby ซึ่งผู้กำกับถึงกับกล่าวกับ BBC ว่ายากเหมือนกับการตามหายูนิคอร์น
“เราต้องการคนที่สามารถใช้ภาษามือได้อย่างคล่องแคล่วและต้องร้องเพลงได้ด้วย ง่ายๆ ว่าต้องเป็นคนที่สามารถแบกภาพยนตร์ทั้งเรื่องไว้ได้”
6. เพราะ Emilia Jones ผู้รับบท Ruby Rossi ต้องใช้เวลา 9 เดือนในการฝึกภาษามือ
หลังจากเฟ้นหาผู้มาแคสบทนี้หลายร้อยคน สุดท้ายบทก็มาตกที่นักแสดงวัยรุ่นชาวอังกฤษที่มีผลงานทาง Netflix อย่างเรื่อง Lock & Key แต่กว่าที่เธอจะได้บทนี้ เธอจะต้องทั้งร้องเพลง และก๊อบปี้ท่าทางภาษามือทั้งที่เธอไม่เข้าใจแม้แต่ตัวเดียวในตอนแรก เพื่อเลียนแบบให้เหมือนและตรงมากที่สุด โดยหลังจากนั้นเธอต้องใช้เวลากว่า 9 เดือนในการเรียนภาษามือสำหรับบทนี้
7. เพราะมีเพลงประกอบที่เรียกน้ำตาได้
อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยทำให้พรสวรรค์ของนางเอก และเรื่องราวในเรื่องยิ่งอบอุ่นหัวใจมากขึ้นไปอีก เพราะไม่ว่าจะเป็นเพลงออริจินัลของเรื่องอย่าง “Beyond The Shore” หรือการคัฟเวอร์ “You’re All I Need To Get By” เพลงดังของ Marvin Gaye และ Tammi Terrell และโดยเฉพาะกับ “Both Sides Now” ของ Joni Mitchell ที่ Emilia Jones นางเอกของเรื่องเอามาคัฟเวอร์ได้อย่างไร้ที่ติ ในฉากสำคัญของเรื่องที่รับรองว่าต้องมีน้ำตาซึมตามตัวละครกันแน่นอน
8. เพราะนี่คือชัยชนะแรกครั้งยิ่งใหญ่จากค่ายสตรีมมิ่ง Apple TV+
นับตั้งแต่ปี 2021 ที่มีการปรับเปลี่ยนกฎให้ภาพยนตร์ที่ออกฉายเฉพาะทางบริการสตรีมมิ่ง สามารถมีสิทธิ์ได้การรับเสนอเข้าชิงรางวัลได้ หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นการขับเคี่ยวอย่างดุเดือดจากค่ายต่างๆ โดยทางด้าน Netflix ก็ได้นำหน้าปูทางไปหลายช่วงตัว แต่สำหรับ Apple TV+ เรียกได้ว่ามาเงียบๆ แต่คว้ารางวัลใหญ่สุดในวงการไปครองในทันที
หลังจากที่มีการรายงานว่า Apple TV+ ควักกระเป๋ากว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จ่ายเงินซื้อสิทธิ์ในการเผยแพร่ CODA และอีกกว่า 10 ล้านเหรียญสำหรับแคมเปญช่วงออสการ์ ซึ่งก็นับว่าคุ้มค่าไม่น้อยกับการได้เป็นผู้ให้บริการสตรีมมิ่งรายแรก ที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเวทีออสการ์ไปได้

9. เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เกือบไม่ได้เกิดเพราะขาดงบการสนับสนุนจากค่ายหนัง
หลังจากที่ทุกอย่างครบลงตัวเรียบร้อยไม่ว่าจะเป็นบทและนักแสดงคนแรกที่เข้าร่วมทีม แต่ทุกอย่างที่ดูเหมือนกำลังจะไปได้สวยต้องสะดุดกลางคัน เมื่อสตูดิโอผู้ลงทุนมีคำสั่งให้ผู้กำกับของเรื่องต้องหานักแสดงที่มีชื่อเสียงมากกว่านี้มาเป็นตัวดึงดูด ไม่ว่านักแสดงคนนั้นจะเป็นคนพิการทางการได้ยินหรือไม่ก็ตาม
แต่ทั้งผู้กำกับและ Marlee Matlin นักแสดงคนแรกที่ได้รับการแคส ปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่ง ทำให้สตูดิโอถอนงบทั้งหมดออก แต่ไม่กี่เดือนให้หลังพวกเขาก็สามารถระดมทุนได้สำเร็จ และเดือนหน้าเปิดกล้องในฐานะภาพยนตร์อิสระ
10. เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้อุทิศแด่ผู้พิการทางการได้ยิน และ CODA เด็กที่มีผู้ปกครองหูหนวก (child of deaf adult)
“ผมอยากขออุทิศภาพยนตร์และรางวัลนี้แก่ชุมชนผู้พิการทางการได้ยิน ชาว CODA และผู้พิการทั้งหลาย นี่คือช่วงเวลาของพวกเรา” คือคำกล่าวของ Troy Kotsur หลังจากขึ้นรับรางวัลใหญ่บนเวที ที่ตอกย้ำความพยายามของทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกคน ในการถ่ายทอดเรื่องราวของมนุษย์ โดยเสียงวิจารณ์จากชุมชนชาว CODA ก็ออกมาในทางที่ดีเช่นกัน
ทางด้าน Marlee Matlin ได้กล่าวในการสัมภาษณ์หลังการประกาศรางวัลกับ BBC ว่า “มันเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ที่ในสุดผู้คนก็ได้ยินได้เห็นสิ่งที่พวกเราพยายามทำมาตลอด พวกเราได้ทลายกำแพงไปจนหมดสิ้น การที่มีผู้คนเข้ามาแสดงความยินดีและให้เกียรติพวกเรา มันเป็นสิ่งที่สวยงาม ถึงแม้จะต้องใช้เวลาในการรอคอยมานานกว่า 35 ปี ที่ฉันรอคอยจะได้พวกให้โลกนี้รู้ว่ายังมีหนังแสดงผู้พิการทางการได้ยินอีกมาก ที่รอคอยจะได้รับโอกาสแสดงความสามารถของพวกเขา” สามารถรับชม CODA ได้แล้ววันนี้บนสตรีมมิ่ง Apple TV+ และโรงภาพยนตร์
Sources:
https://abcnews.go.com/
https://www.vanityfair.com/
https://www.indiewire.com/
https://www.bbc.com/
https://www.reuters.com/
https://www.vox.com/

เริ่มต้นกันด้วยเหตุผลง่ายๆ ข้อนี้ที่ว่าทำไมคุณต้องดูภาพยนตร์ CODA (โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง) เรื่องนี้ จากภาพยนตร์อินดี้ทุนต่ำ ที่เปิดตัวอย่างเงียบๆ ในเทศกาลภาพยนตร์ Sundance เมื่อต้นปี 2021 ก่อนที่จะเริ่มกลายเป็นกระแสปากต่อปาก กับความเป็นภาพยนตร์แนว coming of age ฟีลกู๊ด อบอุ่นหัวใจ ผลงานการกำกับของ Sian Heder ผู้กำกับชาวอเมริกัน ว่าด้วยเรื่องราวของ Ruby Rossi (รับบทโดย Emilia Jones) เด็กสาววัย 17 ปี สมาชิกเพียงคนเดียวที่ได้ยินปกติ ในครอบครัวผู้พิการทางการได้ยิน (CODA, child of deaf adults) ทำให้ตลอดทั้งชีวิตของเธอต้องรับบทเป็นล่ามและช่วยงานบทเรือประมงของพ่อ แม่ และพี่ชายของเธอ (รับบทโดย Troy Kotsur, Marlee Matlin และ Daniel Durant) โดยครอบครัวของเธอคิดว่าชีวิตแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว แต่ตัว Ruby เองกลับคิดว่าเธอต้องมีชีวิตที่ดีกว่านี้ และความฝันที่เธอค้นพบ จากพรสวรรค์การร้องเพลงท่ามกลางของครอบครัวที่ไม่มีทางได้ยินเสียงของเธอ
ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าตา Apple TV+ ค่ายสตรีมมิ่งยักษใหญ่หน้าใหม่มาแรง จนได้กลายเป็นภาพยนตร์ Apple Original Films ออกฉายในวันที่ 13 สิงหาคม 2021 และเดินสายคว้าคำชมจากผู้ชม นักวิจารณ์และกวาดรางวัลมาแล้วทั้งเวที Producers Guild, Screen Actors Guild, Writers Guild awards และล่าสุดกับ Academy Awards หรือว่า Oscars ในสาขาใหญ่สุดของงาน เอาชนะคู่แข่งอย่าง Belfast, Don’t Look Up, Drive My Car, Dune King Richard, Licorice Pizza, Nightmare Alley, The Power of The Dog และ West Side Story
โดยในตอนแรกมีการรายงานว่า CODA ไม่ได้อยู่ในสายตาของออสการ์เท่าไรนัก เรียกง่ายๆ ว่าไม่ได้เป็นตัวเต็งแต่อย่างใด แต่หลังจากที่มีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และผู้คณะกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนได้รับชม ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็กลายเป็นตัวเต็ง และคว้ารางวัลไปได้ในที่สุด

ด้วยความที่เป็นรางวัลสาขาใหญ่ที่สุดของเวที แน่นอนว่าภาพยนตร์เรื่องใดก็ตามที่กลายเป็นผู้ชนะ มักจะกลายเป็นที่วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เป็นประจักษ์สมหรือไม่สมรางวัลอะไรก็ว่าไป แต่ถ้าหากเราเป็นเพียงผู้ชมธรรมดาๆ ที่อยากดูภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงสักเรื่อง โดยถ้าหากดูจากทำเนียบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีที่ผ่านๆ มา CODA นับว่าครบเครื่อง ชวนติดตามจนเราแทบจะไม่ได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นฆ่าเวลาแต่อย่างใด
แม้เนื้อเรื่องจะไม่ได้แปลกใหม่อะไร หรือคาดเดาอะไรไม่ได้ แต่ความเพลย์เซฟที่ทำอย่างถูกต้องและถูกจุด ด้วยเรื่องราวของคนธรรมดาๆ ที่เราเข้าถึงได้ การไล่ล่าหาความฝัน จุดเปลี่ยนชีวิต การตัดสินใจ ดราม่าครอบครัว เสียงเพลง และที่สำคัญกับการบิวท์อารมณ์ด้วยฉากเรียกน้ำตาทั้งหลาย ที่ทำให้เราทั้งเศร้า สุข อบอุ่นหัวใจ เป็นพลังงานบวกที่คนทั่วโลกน่าจะกำลังมองหากันอยู่ในช่วงนี้
3. เพราะ Troy Kotsur สร้างประวัติศาสตร์นักแสดงชายผู้พิการทางการได้ยินคนแรกที่คว้าออสการ์
ด้วยบทบาทของ Frank Rossi พ่อของนางเอก ที่ไม่ว่าเมื่อไรที่เขาปรากฏตัวออกมาก็มักจะแย่งซีนด้วยความซื่อๆ และเรียกเสียงหัวเราะได้ทุกครั้ง กับความเป็นธรรมชาติของเขาและตัวละครนี้ โดย Troy Kotsur นักว่าเป็นนักแสดงชายผู้พิการทางการได้ยินคนแรก ที่คว้ารางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมไปครอง และเป็นคนที่สองในประวัติศาสตร์ออสการ์ที่สามารถคว้ารางวัลไปได้ ส่วนคนแรกนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นเพื่อนนักแสดงผู้รับบทภรรยาของเขาอย่าง Marlee Matlin ที่คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก Children of a Lesser God ไปได้ในปี 1987 นอกจากที่เขากล่าวสปีชรับรางวัลด้วยภาษามือเพื่อขอบคุณทีมงานและครอบครัวของเขาแล้ว ผู้ชมในงานยังพร้อมใจกันร่วมแสดงความยินดีกับเขาด้วยการแสดงภาษามือ
โดยนักแสดงชายผู้สร้างประวัติศาสตร์คนนี้ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ abc ว่า “ผมดีใจที่ฮอลลีวู้ดเริ่มมองเห็นความสามารถของคนหูหนวกสักที ผมหวังว่ามันจะเปลี่ยนมุมมองของพวกเขา จากแทนที่จะคิดแต่เพียงว่าคนหูหนวกเป็นกลุ่มคนที่น่าสงสาร แต่พวกเราก็มีภาษา มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองเหมือนกัน”

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 สาขาและกวาดไปได้ครอบทุกสาขา โดยในสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมนี้ สามารถเฉือนเอาชนะผู้เข้าชิงที่นับว่าหินไม่เบาอย่าง Drive My Car, Dune, The Lost Daughter และ The Power of the Dog
สำหรับ CODA เป็นบทภาพยนตร์ดัดแปลงจากภาพยนตร์ภาษาฝรั่งเศสเรื่อง La Famille Bélier (2014) กำกับโดย Éric Lartigau ซึ่ง Sian Heder ผู้กำกับของเรื่องได้เขียนบทร่วมกับ Alexandria Wailes ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามือ (ASL) ในการถ่ายทอดเรื่องราวให้ถูกต้องตามภาษามือ
5. เพราะทีมนักแสดงเป็นผู้พิการทางการได้ยินจริงๆ ทั้งหมด
ด้วยเป้าหมายที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของผู้พิการทางการได้ยินแล้ว ถ้าหากจะใช้นักแสดงปกติมารับบทก็คงจะดูเป็นเรื่องที่ชวนสงสัยอยู่ ดังนั้นนักแสดงคนแรกที่ได้รับการแคสเข้าร่วมทีมจึงเป็น Marlee Matlin ที่ชื่อของเธอพอจะคุ้นเคยอยู่แล้วในวงการฮอลลีวู้ด ตามมาด้วย Troy Kotsur ผู้ผ่านเส้นทางการแสดงแบบลุ่มๆ ดอนๆ จบเกือบจะหมดหวังหมดตัวไปแล้ว และ Daniel Durant ผู้มารับบทเป็นลูกชายคนโตของบ้าน เมื่อได้ทีมนักแสดงครบแล้ว ขาดแต่เพียงคนเดียวก็คือผู้ที่จะมารับบทเป็น Ruby ซึ่งผู้กำกับถึงกับกล่าวกับ BBC ว่ายากเหมือนกับการตามหายูนิคอร์น
“เราต้องการคนที่สามารถใช้ภาษามือได้อย่างคล่องแคล่วและต้องร้องเพลงได้ด้วย ง่ายๆ ว่าต้องเป็นคนที่สามารถแบกภาพยนตร์ทั้งเรื่องไว้ได้”
6. เพราะ Emilia Jones ผู้รับบท Ruby Rossi ต้องใช้เวลา 9 เดือนในการฝึกภาษามือ
หลังจากเฟ้นหาผู้มาแคสบทนี้หลายร้อยคน สุดท้ายบทก็มาตกที่นักแสดงวัยรุ่นชาวอังกฤษที่มีผลงานทาง Netflix อย่างเรื่อง Lock & Key แต่กว่าที่เธอจะได้บทนี้ เธอจะต้องทั้งร้องเพลง และก๊อบปี้ท่าทางภาษามือทั้งที่เธอไม่เข้าใจแม้แต่ตัวเดียวในตอนแรก เพื่อเลียนแบบให้เหมือนและตรงมากที่สุด โดยหลังจากนั้นเธอต้องใช้เวลากว่า 9 เดือนในการเรียนภาษามือสำหรับบทนี้

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยทำให้พรสวรรค์ของนางเอก และเรื่องราวในเรื่องยิ่งอบอุ่นหัวใจมากขึ้นไปอีก เพราะไม่ว่าจะเป็นเพลงออริจินัลของเรื่องอย่าง “Beyond The Shore” หรือการคัฟเวอร์ “You’re All I Need To Get By” เพลงดังของ Marvin Gaye และ Tammi Terrell และโดยเฉพาะกับ “Both Sides Now” ของ Joni Mitchell ที่ Emilia Jones นางเอกของเรื่องเอามาคัฟเวอร์ได้อย่างไร้ที่ติ ในฉากสำคัญของเรื่องที่รับรองว่าต้องมีน้ำตาซึมตามตัวละครกันแน่นอน
8. เพราะนี่คือชัยชนะแรกครั้งยิ่งใหญ่จากค่ายสตรีมมิ่ง Apple TV+
นับตั้งแต่ปี 2021 ที่มีการปรับเปลี่ยนกฎให้ภาพยนตร์ที่ออกฉายเฉพาะทางบริการสตรีมมิ่ง สามารถมีสิทธิ์ได้การรับเสนอเข้าชิงรางวัลได้ หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นการขับเคี่ยวอย่างดุเดือดจากค่ายต่างๆ โดยทางด้าน Netflix ก็ได้นำหน้าปูทางไปหลายช่วงตัว แต่สำหรับ Apple TV+ เรียกได้ว่ามาเงียบๆ แต่คว้ารางวัลใหญ่สุดในวงการไปครองในทันที
หลังจากที่มีการรายงานว่า Apple TV+ ควักกระเป๋ากว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จ่ายเงินซื้อสิทธิ์ในการเผยแพร่ CODA และอีกกว่า 10 ล้านเหรียญสำหรับแคมเปญช่วงออสการ์ ซึ่งก็นับว่าคุ้มค่าไม่น้อยกับการได้เป็นผู้ให้บริการสตรีมมิ่งรายแรก ที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเวทีออสการ์ไปได้

หลังจากที่ทุกอย่างครบลงตัวเรียบร้อยไม่ว่าจะเป็นบทและนักแสดงคนแรกที่เข้าร่วมทีม แต่ทุกอย่างที่ดูเหมือนกำลังจะไปได้สวยต้องสะดุดกลางคัน เมื่อสตูดิโอผู้ลงทุนมีคำสั่งให้ผู้กำกับของเรื่องต้องหานักแสดงที่มีชื่อเสียงมากกว่านี้มาเป็นตัวดึงดูด ไม่ว่านักแสดงคนนั้นจะเป็นคนพิการทางการได้ยินหรือไม่ก็ตาม
แต่ทั้งผู้กำกับและ Marlee Matlin นักแสดงคนแรกที่ได้รับการแคส ปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่ง ทำให้สตูดิโอถอนงบทั้งหมดออก แต่ไม่กี่เดือนให้หลังพวกเขาก็สามารถระดมทุนได้สำเร็จ และเดือนหน้าเปิดกล้องในฐานะภาพยนตร์อิสระ
10. เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้อุทิศแด่ผู้พิการทางการได้ยิน และ CODA เด็กที่มีผู้ปกครองหูหนวก (child of deaf adult)
“ผมอยากขออุทิศภาพยนตร์และรางวัลนี้แก่ชุมชนผู้พิการทางการได้ยิน ชาว CODA และผู้พิการทั้งหลาย นี่คือช่วงเวลาของพวกเรา” คือคำกล่าวของ Troy Kotsur หลังจากขึ้นรับรางวัลใหญ่บนเวที ที่ตอกย้ำความพยายามของทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกคน ในการถ่ายทอดเรื่องราวของมนุษย์ โดยเสียงวิจารณ์จากชุมชนชาว CODA ก็ออกมาในทางที่ดีเช่นกัน
ทางด้าน Marlee Matlin ได้กล่าวในการสัมภาษณ์หลังการประกาศรางวัลกับ BBC ว่า “มันเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ที่ในสุดผู้คนก็ได้ยินได้เห็นสิ่งที่พวกเราพยายามทำมาตลอด พวกเราได้ทลายกำแพงไปจนหมดสิ้น การที่มีผู้คนเข้ามาแสดงความยินดีและให้เกียรติพวกเรา มันเป็นสิ่งที่สวยงาม ถึงแม้จะต้องใช้เวลาในการรอคอยมานานกว่า 35 ปี ที่ฉันรอคอยจะได้พวกให้โลกนี้รู้ว่ายังมีหนังแสดงผู้พิการทางการได้ยินอีกมาก ที่รอคอยจะได้รับโอกาสแสดงความสามารถของพวกเขา” สามารถรับชม CODA ได้แล้ววันนี้บนสตรีมมิ่ง Apple TV+ และโรงภาพยนตร์
Sources:
https://abcnews.go.com/
https://www.vanityfair.com/
https://www.indiewire.com/
https://www.bbc.com/
https://www.reuters.com/
https://www.vox.com/