ในขณะที่โรคร้ายอย่าง Covid-19 ได้สร้างวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลก จึงทำให้ตอนนี้กลุ่มนักการตลาดก็ล้วนต่างคาดการณ์ว่าในอนาคต กลุ่มผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อเพียงแต่สิ่งที่จำเป็น แม้กระทั่ง Francesca Muston รองประธานฝ่ายแฟชั่นของ WGSN (World Global Style Network) ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง BOF ไว้ว่า “ในยุคที่เศรษฐกิจนั้นสร้างสภาวะแห่งความวิตกกังวล กลุ่มผู้บริโภคต่างหันกลับไปตั้งหลักและโฟกัสในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ พร้อมกับคอยระมัดระวังในเรื่องการใช้เวลาและเรื่องการใช้จ่าย”


ซึ่งในปีนั้นเองได้มีข่าวการเปลี่ยนดีไซเนอร์ของ Celine โดยได้สาวชาวอังกฤษอย่าง Phoebe Philo มากุมบังเหียนให้กับแบรนด์ ในการออกแบบคอลเลกชั่นแรกสำหรับ Resort 2010 ที่ได้นำเสนอสไตล์Minimalismด้วยปรัชญาการออกแบบที่คำนึงถึงความเรียบง่ายเป็นหลัก จึงกลายเป็นสิ่งที่ขโมยหัวใจของเหล่าแฟชั่นนิสต้าทั่วทั้งโลก การที่ไม่มีโลโก้หรือลายโมโนแกรมขนาดใหญ่ตะโกนชื่อแบรนด์ ทำให้คุณสามารถถือกระเป๋าใบนี้ได้โดยไม่มีเบื่อ หรือเสื้อผ้าที่มีเพียงแต่คัตติ้งคมกริบไร้ซึ่งการประดับด้วยดีเทล จึงทำให้สามารถหยิบสวมใส่ได้ตลอด ในยุคนั้นจึงทำให้เสื้อผ้ากระเป๋าและรองเท้าของ Céline จึงเปรียบเสมือนการลงทุนที่ชาญฉลาด นอกจากนั้นยังเป็นต้นกำเนิดให้ผู้หญิงทั่วทั้งโลกหันกลับมาสู่ความเรียบง่ายและคลาสสิค

โดยถ้าเทียบเคียงกับสถานการณ์และเทรนด์ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่าสองเหตุการณ์นี้มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก ซึ่งถ้าเป็นตามที่กล่าว Minimalismก็อาจจะฝันร้ายของแบรนด์ที่เน้นการออกแบบผลงานอย่างสุดโต่ง และอาจจะเป็นการอวสานของดีไซเนอร์บางคน แต่ถ้ามองในอีกแง่นึง Minimalismก็จะสามารถเป็นอีกหนึ่งกลไกลที่ช่วยทำให้คุณมีสติในการเลือกซื้อ เห็นความจำเป็นและไม่จำเป็นพร้อมกับขับเคลื่อนให้วงการแฟชั่นนั้นยังคงดำเนินต่อไปได้

ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น แล้วอุตสาหกรรมแฟชั่นจะดำเนินต่อไปได้อย่างไร?
แต่ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะเหตุการณ์ในรูปแบบนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากย้อนกลับไปในปี 2008 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่าง Hamburger Crisis ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นต้องเปลี่ยนทิศทางการออกแบบอย่างกะทันหัน เพราะด้วยปริมาณการซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ทำให้สินค้าแฟชั่นนั้นขายได้ยาก เสื้อผ้าทุกชิ้นต้องคุ้มค่าและใช้ซ้ำได้ จึงทำให้แบรนด์และดีไซเนอร์ที่นำเสนอผลงาน Minimalism หวนคืนสู่วงการแฟชั่น
