บรรยากาศภายในห้องพรีเซนเทชั่นสำหรับสื่อมวลชนของโอเดอร์มาร์ ปิเกต์ (Audemars Piguet) ที่งาน SIHH 2019 เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ นั้นเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งด้วยความคล่องแคล่วและฉะฉานของผู้บรรยาย ความแอ็กทีฟของสื่อมวลชนที่เข้าชม กิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย และคอนเซ็ปต์เรือนเวลาแบบใหม่ที่น่าสนใจ โดยมีไฮไลท์ที่สุดอยู่ที่การเปิดตัวนาฬิกา Code 11.59 พร้อมกันทีเดียวถึง 13 โมเดล ซึ่งมาทั้งรุ่นกลไกไขลานอัตโนมัติ ปฏิทิน โครโนกราฟ ฟลายอิ้งตูร์บิญอง มินิทรีพีตเตอร์ โดยมีรหัส 11.59 ที่สื่อถึงตัวเลขก่อนก้าวเข้าสู่วันใหม่บนนาฬิกาข้อมือ หมายถึงการเป็นแบรนด์ที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ก้าวล้ำนำหน้าไป 1 ก้าวเสมอ


ผู้บรรยายในวันนั้นคือ มร. ไมเคิล แอล ฟรีดแมน (Mr. Michael L. Friedman) นักประวัติศาสตร์ประจำแบรนด์โอเดอมาร์ ปิเกต์ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งการบอกเวลา นักประมูล และคิวเรเตอร์ ที่เข้ามาร่วมงานกับโอเดอมาร์ ปิเกต์ ตั้งแต่ปี 2013 หน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆ ของเขาคือ การรวบรวมจัดเก็บนาฬิกาหายากของแบรนด์เข้าพิพิธภัณฑ์ จัดการด้านความสัมพันธ์กับองค์กรการประมูล นักสะสม และผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก รวมไปถึงการสร้างสรรค์และพัฒนาแบรนด์คอนเทนต์ ความพิเศษคือการที่บาซาร์ได้มีโอกาสพูดคุยกับเขาอย่างเป็นส่วนตัวที่งาน SIHH ครั้งนี้ด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องราวของแนวคิดคอลเลกชั่นใหม่ๆ แต่เขายังทำให้เราเข้าใจแนวคิดของแบรนด์ชัดเจนมากขึ้นด้วย

Harper’s Bazaar: ดูจากดีไซน์ของคอลเลกชั่นในปีนี้ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แสดงว่าในยุคหลังๆ โอเดอมาร์ ปิเกต์ ออกแบบนาฬิกาเพื่อคนรุ่นใหม่มากขึ้นด้วยหรือเปล่า
Michael L. Friedman: โอเดอมาร์ ปิเกต์ เป็นบริษัทที่ยังคงดำเนินธุรกิจสืบทอดกันในครอบครัวผู้ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่าเรานึกถึงคนรุ่นถัดไปตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญและสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย และการสื่อสารของเราเป็นแบบซึ่งกันและกัน ไม่ใช่สื่อสารฝั่งเดียว เราฟังมากพอๆ กับที่เราพูด มีหลายๆ คอลเลกชั่นที่โฟกัสไปที่กลุ่มคนหนุ่มสาว แต่เวลาเราพูดถึงความหนุ่มสาว เราไม่ได้หมายถึงอายุเท่านั้น แต่หมายถึงคนที่ยังมีความสดใหม่ในความคิดและจิตวิญญาณ ลูกค้าหลายๆ คนก็เติบโตไปพร้อมๆ กับแบรนด์ ในช่วงอายุหนึ่งเขาสะสมคอลเลกชั่นหนึ่ง พอวันเวลาผ่านไป เขาก็หันมาสนใจอีกคอลเลกชั่น
HB: ในการออกแบบนาฬิกาของโอเดอมาร์ ปิเกต์ มีการตามเทรนด์ไหม
MF: เรามองไปยังสิ่งที่อยู่นอกไปจากการประดิษฐ์นาฬิกา มากกว่าสิ่งที่อยู่ข้างใน เรามองวัฒนธรรมในองค์รวม ในแต่ละขั้นตอนของเราคือการเรียนรู้ไปด้วย ความรู้สึกใหม่ๆ นำไปสู่กฏเกณฑ์ที่แตกต่าง สำหรับ Code 11.59 เรารู้ว่าเราจะสร้างสรรค์นาฬิกาที่มีความร่วมสมัย เราดูเทคโนโลยีที่เรามีและสิ่งที่มันสามารถจะให้ได้ อย่างเช่น การทำโลโก้ด้วยเทคนิค 3D Printing ที่รังสรรค์ด้วยกระบวนการทางเคมี เรียกว่า Galvanic Growth ก่อนนำมาร้อยเรียงบนหน้าปัดด้วยมือ ทำให้ตัวอักษรแต่ละตัวถูกเชื่อมไว้ด้วยเส้นที่มีความบางเทียบเท่าเส้นผม และดีไซน์คริสคัลทรงโค้ง 2 ชั้น ซึ่งโอเดอมาร์ ปิเกต์ คิดค้นขึ้นเพื่อ Code 11.59 โดยเฉพาะ
ถ้าหากเราเปรียบเทียบงานเพนต์ติ้งของแวน โก๊ะห์ แขวนอยู่บนกำแพง คนที่รู้ศิลปะมองปราดเดียวเขาจะรู้เลยว่านี่งานของใคร หรือจากยุคไหน ด้วยสไตล์ ด้วยสี หรือแสงเงาที่ใช้ แต่ถ้าเกิดเป็นงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินใหม่ๆ อย่างสมมุติงานของฌอง-มิเชล บาสเกียต (Jean-Michel Basquiat) คุณอาจจะไม่สามารถบอกได้ในครั้งเดียวว่าเป็นงานของใคร ไม่สามารถเข้าใจทุกอย่างได้ในทันที เพราะการแสดงออกแบบร่วมสมัย (Contemporary expression) เป็นเรื่องของการค้นพบ การหยิบมาค้นพบใหม่ การสำรวจรายละเอียด และกระบวนความคิดเบื้องหลัง นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับเราในการเข้าไปให้ถึงความคิดในขั้นนี้

HB: ศิลปะและงานฝีมือมีบทบาทสำคัญสำหรับการออกแบบสร้างสรรค์นาฬิกาของโอเดอมาร์ ปิเกต์แค่ไหน
MF: เป็นแก่นที่มีความสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ งานออกแบบของเราคือการหาจุดสมดุลระหว่างหัตถศิลป์ อย่างงานทำมือในขั้นตอนต่างๆ กับการสื่อสารผ่านงานดีไซน์ เราใส่ใจรายละเอียดและทำอย่างประณีต ส่วนประกอบทุกชิ้นต้องสอดคล้องและไปด้วยกัน เหมือนคณะบัลเลต์หรือการบรรเลงวงซิมโฟนี เราท้าทายและแข่งขันกับตัวเองอยู่ตลอดเวลาในการก้าวข้ามขีดจำกัดทางด้านหัตถศิลป์
HB: ทางแบรนด์กำลังจะสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ ตอนนี้ความคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้าง
MF: ใช่ครับ ตอนนี้มิวเซียมกำลังก่อสร้าง ทุกอย่างกำลังไปได้ดี โครงสร้างด้านนอกและส่วนที่เป็นกระจกเสร็จหมดแล้ว เชื่อมต่อกับมิวเซียมเดิม ซึ่งเราจะมีอีเวนต์เปิดตัว Code 11.59 ที่นั่นด้วย โดยจะมีลูกค้าจากทั่วโลกมาร่วมงาน จะเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากๆ ส่วน Soft opening ของตัวมิวเซียมเองน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2019 และเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้ต้นปี 2020 ขึ้นอยู่กับฤดูหนาวว่าจะยาวนานไหม เพราะถ้ามีหิมะตกเยอะ ก็จะเป็นอุปสรรคพอสมควร ที่นั่นจะมีส่วนที่เป็นโรงแรมด้วย ตัวอาคารจะแยกออกจากมิวเซียมแต่สถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบเดียวกัน บอกได้ว่าเรากำลังจะมีมิวเซียม โรงแรม แมนูแฟคเจอร์ และสำนักงานใหญ่ ทุกอย่างอยู่ในที่เดียวกัน เป็นโอกาสให้ลูกค้าได้เข้ามาเยี่ยมชมที่เลอ บราซู โดยจะใช้เวลาไม่ใช่แค่ในช่วงบ่ายวันหนึ่ง แต่อาจจะต้อง 2-3 วัน และเขาจะไม่ได้แค่มาทำความรู้จักกับแบรนด์โอเดอมาร์ ปิเกต์ แต่ได้สัมผัสวัฒนธรรมและแลนด์สเคปของวัลเลย์ เดอ ฌูซ์ ไม่ว่าจะด้วยการไปเดินเขา ไปสกี กลับมาที่มิวเซียม แล้วไปโรงงาน พูดคุยกับช่างนาฬิกา มันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นและน่าสนุกมากๆ

BZ: แนวคิดหลักของการสร้างสรรค์นาฬิกา สำหรับโอเดอมาร์ ปิเกต์ เป็นแบบไหน
MF: เราไม่ได้สร้างสรรค์นาฬิกาสำหรับทุกคน นั่นไม่ใช่เป้าหมายของเรา เป้าหมายของเราคือสร้างสรรค์นาฬิกาที่แหวกขนบ นำเสนอจินตนาการและแพสชั่น แสดงให้เห็นคุณค่าของงานฝีมืออันประณีต และโชว์ศักยภาพของเทคโนโลยี ถ้าเราทำนาฬิกาสำหรับทุกคน นั่นหมายความว่าเราไม่ได้ทำนาฬิกาสำหรับใครเลย ก็เหมือนเรากำลังทำนาฬิกาที่จะไม่ได้รับการจดจำต่อไปในอนาคต เรากำลังสร้างสรรค์นาฬิกา เครื่องบอกเวลา ใช่ครับ แต่ขณะเดียวกันมันก็คืองานดีไซน์ การแสดงออก และศิลปะงานฝีมือ เราใส่ใจสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทเป็นธุรกิจครอบครัวที่ยังคงดำเนินกิจการอย่างเป็นอิสระ และเรากำลังนำเสนอตัวตนผ่านเรือนเวลาต่างๆ ที่เราสร้างสรรค์ขึ้น และจะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต



Michael L. Friedman: โอเดอมาร์ ปิเกต์ เป็นบริษัทที่ยังคงดำเนินธุรกิจสืบทอดกันในครอบครัวผู้ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่าเรานึกถึงคนรุ่นถัดไปตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญและสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย และการสื่อสารของเราเป็นแบบซึ่งกันและกัน ไม่ใช่สื่อสารฝั่งเดียว เราฟังมากพอๆ กับที่เราพูด มีหลายๆ คอลเลกชั่นที่โฟกัสไปที่กลุ่มคนหนุ่มสาว แต่เวลาเราพูดถึงความหนุ่มสาว เราไม่ได้หมายถึงอายุเท่านั้น แต่หมายถึงคนที่ยังมีความสดใหม่ในความคิดและจิตวิญญาณ ลูกค้าหลายๆ คนก็เติบโตไปพร้อมๆ กับแบรนด์ ในช่วงอายุหนึ่งเขาสะสมคอลเลกชั่นหนึ่ง พอวันเวลาผ่านไป เขาก็หันมาสนใจอีกคอลเลกชั่น

MF: เรามองไปยังสิ่งที่อยู่นอกไปจากการประดิษฐ์นาฬิกา มากกว่าสิ่งที่อยู่ข้างใน เรามองวัฒนธรรมในองค์รวม ในแต่ละขั้นตอนของเราคือการเรียนรู้ไปด้วย ความรู้สึกใหม่ๆ นำไปสู่กฏเกณฑ์ที่แตกต่าง สำหรับ Code 11.59 เรารู้ว่าเราจะสร้างสรรค์นาฬิกาที่มีความร่วมสมัย เราดูเทคโนโลยีที่เรามีและสิ่งที่มันสามารถจะให้ได้ อย่างเช่น การทำโลโก้ด้วยเทคนิค 3D Printing ที่รังสรรค์ด้วยกระบวนการทางเคมี เรียกว่า Galvanic Growth ก่อนนำมาร้อยเรียงบนหน้าปัดด้วยมือ ทำให้ตัวอักษรแต่ละตัวถูกเชื่อมไว้ด้วยเส้นที่มีความบางเทียบเท่าเส้นผม และดีไซน์คริสคัลทรงโค้ง 2 ชั้น ซึ่งโอเดอมาร์ ปิเกต์ คิดค้นขึ้นเพื่อ Code 11.59 โดยเฉพาะ
ถ้าหากเราเปรียบเทียบงานเพนต์ติ้งของแวน โก๊ะห์ แขวนอยู่บนกำแพง คนที่รู้ศิลปะมองปราดเดียวเขาจะรู้เลยว่านี่งานของใคร หรือจากยุคไหน ด้วยสไตล์ ด้วยสี หรือแสงเงาที่ใช้ แต่ถ้าเกิดเป็นงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินใหม่ๆ อย่างสมมุติงานของฌอง-มิเชล บาสเกียต (Jean-Michel Basquiat) คุณอาจจะไม่สามารถบอกได้ในครั้งเดียวว่าเป็นงานของใคร ไม่สามารถเข้าใจทุกอย่างได้ในทันที เพราะการแสดงออกแบบร่วมสมัย (Contemporary expression) เป็นเรื่องของการค้นพบ การหยิบมาค้นพบใหม่ การสำรวจรายละเอียด และกระบวนความคิดเบื้องหลัง นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับเราในการเข้าไปให้ถึงความคิดในขั้นนี้

MF: เป็นแก่นที่มีความสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ งานออกแบบของเราคือการหาจุดสมดุลระหว่างหัตถศิลป์ อย่างงานทำมือในขั้นตอนต่างๆ กับการสื่อสารผ่านงานดีไซน์ เราใส่ใจรายละเอียดและทำอย่างประณีต ส่วนประกอบทุกชิ้นต้องสอดคล้องและไปด้วยกัน เหมือนคณะบัลเลต์หรือการบรรเลงวงซิมโฟนี เราท้าทายและแข่งขันกับตัวเองอยู่ตลอดเวลาในการก้าวข้ามขีดจำกัดทางด้านหัตถศิลป์

MF: ใช่ครับ ตอนนี้มิวเซียมกำลังก่อสร้าง ทุกอย่างกำลังไปได้ดี โครงสร้างด้านนอกและส่วนที่เป็นกระจกเสร็จหมดแล้ว เชื่อมต่อกับมิวเซียมเดิม ซึ่งเราจะมีอีเวนต์เปิดตัว Code 11.59 ที่นั่นด้วย โดยจะมีลูกค้าจากทั่วโลกมาร่วมงาน จะเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากๆ ส่วน Soft opening ของตัวมิวเซียมเองน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2019 และเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้ต้นปี 2020 ขึ้นอยู่กับฤดูหนาวว่าจะยาวนานไหม เพราะถ้ามีหิมะตกเยอะ ก็จะเป็นอุปสรรคพอสมควร ที่นั่นจะมีส่วนที่เป็นโรงแรมด้วย ตัวอาคารจะแยกออกจากมิวเซียมแต่สถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบเดียวกัน บอกได้ว่าเรากำลังจะมีมิวเซียม โรงแรม แมนูแฟคเจอร์ และสำนักงานใหญ่ ทุกอย่างอยู่ในที่เดียวกัน เป็นโอกาสให้ลูกค้าได้เข้ามาเยี่ยมชมที่เลอ บราซู โดยจะใช้เวลาไม่ใช่แค่ในช่วงบ่ายวันหนึ่ง แต่อาจจะต้อง 2-3 วัน และเขาจะไม่ได้แค่มาทำความรู้จักกับแบรนด์โอเดอมาร์ ปิเกต์ แต่ได้สัมผัสวัฒนธรรมและแลนด์สเคปของวัลเลย์ เดอ ฌูซ์ ไม่ว่าจะด้วยการไปเดินเขา ไปสกี กลับมาที่มิวเซียม แล้วไปโรงงาน พูดคุยกับช่างนาฬิกา มันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นและน่าสนุกมากๆ


MF: เราไม่ได้สร้างสรรค์นาฬิกาสำหรับทุกคน นั่นไม่ใช่เป้าหมายของเรา เป้าหมายของเราคือสร้างสรรค์นาฬิกาที่แหวกขนบ นำเสนอจินตนาการและแพสชั่น แสดงให้เห็นคุณค่าของงานฝีมืออันประณีต และโชว์ศักยภาพของเทคโนโลยี ถ้าเราทำนาฬิกาสำหรับทุกคน นั่นหมายความว่าเราไม่ได้ทำนาฬิกาสำหรับใครเลย ก็เหมือนเรากำลังทำนาฬิกาที่จะไม่ได้รับการจดจำต่อไปในอนาคต เรากำลังสร้างสรรค์นาฬิกา เครื่องบอกเวลา ใช่ครับ แต่ขณะเดียวกันมันก็คืองานดีไซน์ การแสดงออก และศิลปะงานฝีมือ เราใส่ใจสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก เพราะบริษัทเป็นธุรกิจครอบครัวที่ยังคงดำเนินกิจการอย่างเป็นอิสระ และเรากำลังนำเสนอตัวตนผ่านเรือนเวลาต่างๆ ที่เราสร้างสรรค์ขึ้น และจะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต