38 ปีแห่งความสำเร็จที่เริ่มต้นนับหนึ่งมาตั้งแต่ปี 1980 ทำให้ Greyhound กลายเป็นแบรนด์ไทยที่ใครๆ ก็ต้องร้องอ๋อเมื่อได้ยินชื่อ วันนี้ทีมบาซาร์ได้มีโอกาสพูดคุยกับครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของเกรย์ฮาวด์ แดง-ภาณุ อิงคะวัต ถึงอนาคต และโปรเจ็กต์สนุกๆ ใหม่ๆ ที่สาวกแบรนด์จะต้องเซอร์ไพรส์

Harper’s BAZAAR: ตัวตนของแบรนด์ Greyhound ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
Bhanu Inkawat: นับตั้งแต่ที่แบรนด์เปิดตัวมาผมกับทีมก็ได้มีการปรับเปลี่ยนทั้งแบรนด์เสื้อผ้าและร้านอาหาร Greyhound Café ให้เหมาะสมกับเทรนด์ในแต่ละยุคสมัยแต่ไม่เคยละทิ้งดีเอ็นเอของแบรนด์ที่ชัดเจนซึ่งเป็น “King of Cool” มีความเป็นอาร์ต และสตรีทแวร์ที่โมเดิร์น ผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เนื่องจากโลกของวงการแฟชั่นนั้นหมุนไวมาก ทุกวันจะมีคู่แข่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมาตลอดเวลา ถ้าไม่ปรับก็ไม่รอด
HB: เกรย์ฮาวน์มีการปรับตัวอย่างไรให้ทันยุคดิจิตัล
BI:ในส่วนของดิจิตัล เราก็พยายามตามให้ทันโดยการใช้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ communication, social media หรือแม้แต่ e-commerce เราพยายามให้ความสำคัญกับสิ่งใหม่ๆ เพราะเราเป็นองค์กรที่ไม่อยากหยุดอยู่กับที่ และไม่ยอมหลุดจากขบวนรถไฟแน่นอน
HB: แรงบันดาลของ Greyhound เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง
BI: คนในทีมของผมไม่ได้เป็นแฟชั่นดีไซเนอร์แต่จะมีคนจากหลายสาขาปะปนกันไป บ้างก็จบกราฟิก บ้างก็จบด้านศิลปะกันมา แต่พวกเราสนุกกับการแต่งตัว และทำสไตลิ่งมากกว่าการมานั่งออกแบบทำแพทเทิร์นแปลกใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดสไตล์เกรย์ฮาวด์ และอีกสิ่งที่เป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์เลยก็คือลายกราฟิกที่เราพิมพ์ลงบนเสื้อผ้า ส่วนแรงบันดาลใจส่วนใหญ่เรามักจะได้มาจากการใช้ชีวิต สังเกตจากสิ่งรอบด้านที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ การท่องเที่ยว หรือไลฟ์สไตล์ ก็ล้วนนำมาเป็นแรงบันดาลใจได้ทั้งนั้น
HB: หลังจากที่อยู่กับแบรนด์มาร่วม 38 ปี อะไรคือเคล็ดลับของแพสชั่นที่ยังลุกโชนอยู่
BI: ผมว่าสิ่งสำคัญเลยก็คือตัวเราเองต้องไม่ยอมแก่นะ (หัวเราะ) พยายามใช้ชีวิตให้มันมีรสชาติและรู้จักการหยิบเอาบางสิ่งที่จากกระแสมาใช้โดยไม่ต้องวิ่งตามไปซะทุกอย่าง อะไรทีไม่ใช้เราก็ต้องปล่อยวางไป ต้องรู้จักการบาลานซ์แต่ก็ห้ามปล่อยปะละเลย
HB: นอกจากเสื้อผ้าและร้านอาหารอาหารที่เป็นขวัญใจของคนไทยแล้ว ก้าวต่อไปของเกรย์ฮาวด์จะเป็นอะไร
BI: ตอนนี้ผมไม่ได้รู้สึกว่าแบรนด์ของเราจะเป็นแค่แฟชั่นอย่างเดียว เพราะเราเป็นแบรนด์ที่ทันสมัยทั้งในด้านเสื้อผ้า อาหารและไลฟ์สไตล์ ล่าสุดเราได้ร่วมทำคอลลาบอเรชั่นโปร์เจ็กต์กับ Honda โดยการไปทำพัฒนาเป็น Lifestyle Showroom ให้เขาพร้อมเปิด Greyhound Coffee หรือร้านกาแฟเก๋ๆ เพื่อตอบสนองเทรนด์ Coffee Culture ภายในศูนย์จำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ ตอนนี้เพิ่งเริ่มทำที่เอกมัยและกำลังจะขยายไป 12 สาขาทั่วประเทศภายในกลางปีหน้า นอกจากนี้ก็ยังได้ร่วมทำโปรเจ็กต์ใหญ่กับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติสวีเดนแต่อันนี้ขอยังไม่เปิดเผยก่อนเนื่องจากโปรเจ็กต์จะลอนช์ในปี 2020 แต่ที่สำคัญเราไม่เคยปิดกั้นโอกาสที่เข้ามาเลยครับ
HB: มีอะไรจะฝากถึงเด็กรุ่นใหม่ที่อยากจะทำเเบรนด์เสื้อผ้า คาเฟ่ หรือร้านอาหารอย่างเกรย์ฮาวด์
BI: ขอให้เชื่อมั่นว่าเราทำอะไรในสิ่งที่เรารักจริงๆ มุ่งหน้าทำไปเรื่อยๆ และที่สำคัญคือทำให้มันเกิดขึ้น อีกอย่างคือผมเชื่อมั่นมาตลอดว่าการมีทีมที่แข็งแรงคอยหนุนเราจะทำให้ผลงานออกมาดีได้ ต้องเป็นทีมที่คุยกันรู้เรื่อง แชร์ไอเดียกันได้ แบ่งหน้าที่และกระจายพลังกันเพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ แทนที่จะลงมือทำทุกอย่างคนเดียว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือหัวคิดด้านธุรกิจที่จะผลักดันให้ความคิดสร้างสรรของเราไปสู่ฝั่งฝันได้ในที่สุด
แรงบันดาลใจที่ไม่มีวันหยุดนิ่งขับเคลื่อนให้ Greyhound ยังคงก้าวหน้าต่อไป เพราะ แดง-ภาณุ อิงคะวัต หัวเรือใหญ่ของแบรนด์สัญชาติไทยไม่มีวันยอมตกขบวนรถด่วนเลยจริงๆ
Bhanu Inkawat: นับตั้งแต่ที่แบรนด์เปิดตัวมาผมกับทีมก็ได้มีการปรับเปลี่ยนทั้งแบรนด์เสื้อผ้าและร้านอาหาร Greyhound Café ให้เหมาะสมกับเทรนด์ในแต่ละยุคสมัยแต่ไม่เคยละทิ้งดีเอ็นเอของแบรนด์ที่ชัดเจนซึ่งเป็น “King of Cool” มีความเป็นอาร์ต และสตรีทแวร์ที่โมเดิร์น ผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เนื่องจากโลกของวงการแฟชั่นนั้นหมุนไวมาก ทุกวันจะมีคู่แข่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมาตลอดเวลา ถ้าไม่ปรับก็ไม่รอด
HB: เกรย์ฮาวน์มีการปรับตัวอย่างไรให้ทันยุคดิจิตัล
BI:ในส่วนของดิจิตัล เราก็พยายามตามให้ทันโดยการใช้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ communication, social media หรือแม้แต่ e-commerce เราพยายามให้ความสำคัญกับสิ่งใหม่ๆ เพราะเราเป็นองค์กรที่ไม่อยากหยุดอยู่กับที่ และไม่ยอมหลุดจากขบวนรถไฟแน่นอน

BI: คนในทีมของผมไม่ได้เป็นแฟชั่นดีไซเนอร์แต่จะมีคนจากหลายสาขาปะปนกันไป บ้างก็จบกราฟิก บ้างก็จบด้านศิลปะกันมา แต่พวกเราสนุกกับการแต่งตัว และทำสไตลิ่งมากกว่าการมานั่งออกแบบทำแพทเทิร์นแปลกใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดสไตล์เกรย์ฮาวด์ และอีกสิ่งที่เป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์เลยก็คือลายกราฟิกที่เราพิมพ์ลงบนเสื้อผ้า ส่วนแรงบันดาลใจส่วนใหญ่เรามักจะได้มาจากการใช้ชีวิต สังเกตจากสิ่งรอบด้านที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ การท่องเที่ยว หรือไลฟ์สไตล์ ก็ล้วนนำมาเป็นแรงบันดาลใจได้ทั้งนั้น
HB: หลังจากที่อยู่กับแบรนด์มาร่วม 38 ปี อะไรคือเคล็ดลับของแพสชั่นที่ยังลุกโชนอยู่
BI: ผมว่าสิ่งสำคัญเลยก็คือตัวเราเองต้องไม่ยอมแก่นะ (หัวเราะ) พยายามใช้ชีวิตให้มันมีรสชาติและรู้จักการหยิบเอาบางสิ่งที่จากกระแสมาใช้โดยไม่ต้องวิ่งตามไปซะทุกอย่าง อะไรทีไม่ใช้เราก็ต้องปล่อยวางไป ต้องรู้จักการบาลานซ์แต่ก็ห้ามปล่อยปะละเลย

BI: ตอนนี้ผมไม่ได้รู้สึกว่าแบรนด์ของเราจะเป็นแค่แฟชั่นอย่างเดียว เพราะเราเป็นแบรนด์ที่ทันสมัยทั้งในด้านเสื้อผ้า อาหารและไลฟ์สไตล์ ล่าสุดเราได้ร่วมทำคอลลาบอเรชั่นโปร์เจ็กต์กับ Honda โดยการไปทำพัฒนาเป็น Lifestyle Showroom ให้เขาพร้อมเปิด Greyhound Coffee หรือร้านกาแฟเก๋ๆ เพื่อตอบสนองเทรนด์ Coffee Culture ภายในศูนย์จำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ ตอนนี้เพิ่งเริ่มทำที่เอกมัยและกำลังจะขยายไป 12 สาขาทั่วประเทศภายในกลางปีหน้า นอกจากนี้ก็ยังได้ร่วมทำโปรเจ็กต์ใหญ่กับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติสวีเดนแต่อันนี้ขอยังไม่เปิดเผยก่อนเนื่องจากโปรเจ็กต์จะลอนช์ในปี 2020 แต่ที่สำคัญเราไม่เคยปิดกั้นโอกาสที่เข้ามาเลยครับ
HB: มีอะไรจะฝากถึงเด็กรุ่นใหม่ที่อยากจะทำเเบรนด์เสื้อผ้า คาเฟ่ หรือร้านอาหารอย่างเกรย์ฮาวด์
BI: ขอให้เชื่อมั่นว่าเราทำอะไรในสิ่งที่เรารักจริงๆ มุ่งหน้าทำไปเรื่อยๆ และที่สำคัญคือทำให้มันเกิดขึ้น อีกอย่างคือผมเชื่อมั่นมาตลอดว่าการมีทีมที่แข็งแรงคอยหนุนเราจะทำให้ผลงานออกมาดีได้ ต้องเป็นทีมที่คุยกันรู้เรื่อง แชร์ไอเดียกันได้ แบ่งหน้าที่และกระจายพลังกันเพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ แทนที่จะลงมือทำทุกอย่างคนเดียว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือหัวคิดด้านธุรกิจที่จะผลักดันให้ความคิดสร้างสรรของเราไปสู่ฝั่งฝันได้ในที่สุด
