จากเสื้อยืด We Should All Be Feminist ถึงเสื้อยืด I Say I ในโชว์ DIOR
เจาะลึกรายละเอียดในประเด็นความเป็นเฟมินิสต์ของดิออร์ ทั้งแนวความคิด เสื้อผ้า และรันเวย์โชว์
By : Pratch
มาเรีย กราเซีย คิอุริ เปิดตัวในการทำงานในฐานะครีเอทีฟไดเร็กเตอร์คนใหม่ฝั่งเสื้อผ้าผู้หญิงของคริสเตียน ดิออร์ ในคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ผลิและร้อน 2017 พร้อมด้วยเสื้อทีเชิ้ตสกรีนคำว่า “We Should All Be Feminist” ส่งสารถึงสไตล์ของดิออร์ยุคใหม่ภายใต้การทำงานของเธอที่เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์แห่งสิทธิสตรีอย่างเข้มข้น และเธอก็ทำงานกับประเด็นสิทธิสตรีผ่านเสื้อผ้าและการเคลื่อนไหวต่างๆ ของดิออร์เรื่อยมา ดังเช่น ชุดในงานออสการ์ของนาตาลี พอร์ตแมน
ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมาเรีย กราเซีย คิอุริ และกลุ่มศิลปินฝรั่งเศสที่ใช้งานศิลปะสมัยใหม่ในการวิพากษ์วิจารณ์งานศิลปะด้วยกันเองและการเมืองในแง่มุมต่างๆ นาม Collective Claire Fontaine ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นในโชว์ของดิออร์ครั้งนี้คล้ายกับผลงานที่ทางกลุ่มเคยสร้างสรรค์ไว้ ในชื่อว่า “Human Strike” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มเฟมินิสต์อิตาเลียนในทศวรรษ 1970s ซึ่งก็ตรงกับการสร้างสรรค์เสื้อผ้าของดิออร์ในคอลเล็กชั่นนี้พอดิบพอดี ที่โฟกัสไปที่สไตล์เฟมินิสต์ในช่วงยุค 1970s รวมไปถึงผลงาน “STRIKE” ในปี 2005 ที่ใช้ไฟนีออนสร้างคำ สัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงความหมายในเชิงการเมือง ดังเช่นผลงาน FOREIGNERS EVERYWHERE ในปี 2005 ที่ใช้ภาษาอิตาเลียนและอารบิก และหากเรามองไปที่พื้นของรันเวย์ในโชว์นี้ เราก็จะเห็นว่าพื้นรันเวย์ถูกปูด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ อันเป็นผลงานของ Collective Claire Fontaine เช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะพบว่ามันคือหนังสือพิมพ์ Le Monde ของฝรั่งเศส ที่ทำขึ้นใหม่โดยได้แรงบันดาลใจมาจากภาพถ่ายพอร์เทรตของศิลปิน Henri Matisse ซึ่งกำลังวาดรูปอยู่ในสตูดิโอ ถ่ายภาพโดยช่างภาพชาวฮังกาเรียน Robert Capa ในขณะที่ดีเทลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่ใช้มาปูพื้นรันเวย์นั้นต่างก็สะท้อนให้เห็นถึงข่าวคราวความเคลื่อนไหวรอบโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ผู้หญิง หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งสื่อความหมายว่าข่าวเหล่านี้คือสิ่งที่มีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินแทบทั้งสิ้นอีกหนึ่งความน่าสนใจในประเด็นเรื่องเฟมินิสต์ที่ถูกนำมาใช้ในโชว์และเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นนี้ก็คือ คำว่า “I Say I” ที่ปรากฏ ณ ทางเข้าโชว์และบนเสื้อทีเชิ้ตในคอลเล็กชั่นนี้ และบางประโยคที่เป็นป้ายไฟนีออนบนรันเวย์เช่น “We Are All Clitoridian Women” ล้วนเป็นคำที่มาจากนักวิจารณ์ศิลปะและนักกิจกรรมเฟมินิสต์ชาวอิตาเลียน Carla Lonzi ซึ่งผลงานเขียนและแนวคิดของ Carla Lonzi คือแรงบันดาลใจหลักที่มาเรีย กราเซีย คิอุริ นำมาใช้ในการสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นนี้ของดิออร์ Carla Lonzi เป็นนักกิจกรรมเฟมินิสต์ในช่วงยุค 1970s ที่งานเขียนของเธอได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยเธอเสนอผ่านงาน The Rivolta Femminile ว่าผู้หญิงต้องตระหนักรู้และสำนึกในความเป็นตนเองให้ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนกับผู้หญิงคนอื่นๆ และการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองนี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับและชื่นชมโดยตนเองและผู้หญิงคนอื่นด้วยแต่ในขณะเดียวกันการตระหนักรู้และสำนึกในตัวเองของผู้หญิงนั้นก็ต้องเข้าใจว่าความเป็นผู้หญิงเองในหลากหลายแง่มุมก็ถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย ดังเช่นในผลงาน The Clitoral and the Vaginal Woman และ Diary of a Feminist ซึ่งแนวคิดของ Carla Lonzi ก็มีรากฐานทางความคิดคล้ายกับนักสตรีนิยมเลื่องชื่อซีโมน เดอ โบวัวร์ กับคำกล่าวที่ลือลั่นว่า “เราไม่ได้เกิดมาเป็นผู้หญิง เรากลายมาเป็นผู้หญิง”แต่ทฤษฎีเฟมินิสต์เหล่านี้ถูกจับเอามานำเสนอผ่านเสื้อผ้า งานแฟชั่นอย่างไร นอกจากการสรีนลายเสื้อด้วยคำพูดของเฟมินิสต์หรือประโยคต่างๆ ที่ยกมาใช้บนรันเวย์โชว์ มาเรีย กราเซีย คิอุริ ตระหนักข้อจำกัดนี้ดี เธอจึงเลือกหยิบสไตล์ที่เห็นได้ทั้งจากผู้หญิงที่ตระหนักและเข้าใจในความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง หรือแม้แต่เสื้อผ้า การแต่งตัว ที่เห็นผ่านการเคลื่อนไหวของเฟมินิสต์หลากหลายคนในยุค 1970s หรือแม้แต่ภาพถ่ายของตัวเธอเองในยุคนั้น มากไปกว่านั้น เธอกล่าวว่า “ฉันต้องการให้คุณจำผู้หญิงคนหนึ่ง จากทัศนคติของเธอ รสนิยมของเธอ ไม่ใช่นักออกแบบที่ทำเสื้อผ้าของเธอ" การตระหนักรู้และสำนึกในตัวเองของผู้หญิงเพื่อสร้าง I และทุกครั้งที่เปล่งเสียง แสดงจุดยืน ทัศนคติอะไรก็ให้รู้ว่านั่นมาจาก I ที่แท้จริง ทั้ง I ที่ผ่านกระบวนการการยอมรับตนเองและได้รับการยอมรับจากผู้อื่นหรือ I ที่เข้าใจว่าก็ถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากปัจจัยต่างๆ ดังเช่นคำว่า I SAY I ของ Carla Lonzi ที่ปรากฏอยู่บนเสื้อยืดของดิออร์ในคอลเล็กชั่นนี้ ก็เหมือนกับสิ่งที่มาเรีย กราเซีย คิอุริ กล่าว เธอไม่ได้สร้างเพื่อผ้ามาเพื่อให้คนจดจำว่าผู้หญิงคนนั้นสวมใส่เสื้อผ้าจากดีไซเนอร์คนไหน แต่เธอสร้างเสื้อผ้ามาเพื่อให้ผู้หญิงเลือกที่จะสร้างตัวตน สร้างความเป็น I ผ่านทัศนคติและรสนิยมโดยตัวของพวกเธอเอง
เช่นเดียวกันคอลเล็กชั่นล่าสุดนี้ ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว 2020 ที่สำเนียงเฟมินิสต์ยิ่งเข้มข้นมากขึ้น ความเข้มข้นนี้เริ่มต้นตั้งทางเข้าโชว์ ซึ่งมีป้ายเขียนว่า “I Say I” ซึ่งข้อความนี้ถูกหยิบนำมาใช้เป็นข้อความบนเสื้อยืดในคอลเล็กชั่นนี้อีกด้วย ไปจนถึงเซ็ตติ้งบนรันเวย์ กับป้ายไฟนีออนทั้งหลายที่มีข้อความว่า “Consent” “Women Raise the Upraising” “Patriarchy = Climate Emergency” “Feminine Beauty Is a Ready-Made” “Women’s love is unpaid labour” “Women’s Love Is Unpaid Labour” “When Women Strike The Wolrd Stops” “We Are All Clitoridian Women”
MOST VIEWED
เจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชร ขึ้นแท่น Friend of Tiffany & Co. แห่งประเทศไทย
พร้อมภาพคุณแม่คนนี้กับเครื่องประดับรุ่นต่างๆ
Harry Styles ทำลายภาพจำเดิมๆ ของคำว่า “เพศชาย” อีกครั้งด้วยการเปิดแบรนด์เครื่องสำอางชื่อ “Pleasing
Do What Is Pleasing To You
Cartier เฉลิมฉลองช่วงเวลาพิเศษตลอดทั้งปีผ่าน “LOVE IS ALL” ภาพยนตร์สั้นที่ถ่ายทอดความงดงามแห่งรัก
งานนี้ได้ทั้ง Jackson Wang, Lily Collins และ Troye Sivan มาร่วม
MORE FROM
RUNWAY TRENDS
มิว นิษฐา และเจเจ กฤษณภูมิ พาชมคอลเลกชั่นรับลมร้อน FENDI Spring/Summer 2022
กับสีสันแห่งความสดชื่นและลวดลายแบบดิสโก้
MIU MIU กลับมาทำเสื้อผ้าผู้ชายอีกครั้งในคอลเลกชั่น Fall/Winter 2022
หมายตาไว้เลยที่เสื้อโปโลสีน้ำเงิน
Hermès Fall 2022: เมื่อเรื่องเพศถูกสื่อสารอย่างแยบยลผ่านเสื้อผ้าสตรีของ Nadège Vanhee-Cybulski
เสื้อผ้าที่เน้นลูกเล่นแสงและเงา บวกเข้ากับวัสดุที่ขับเน้นความงามของร่างกาย