1. การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ
กองเสื้อผ้าที่ถูกบริจาคที่กานา: MAXINE BÉDAT
Carbon hotspot ก็คือ โรงสี (สถานที่ที่ปั่นเส้นใยให้กลายเป็นเส้นด้ายและทอเส้นด้ายเหล่านั้นให้กลายเป็นผ้า) คาร์บอนฟุตพริ้นต์มากกว่า 75% เกิดขึ้นจากการผลิตเสื้อผ้าที่นั่น และหากโรงสีเหล่านี้สามารถลดจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นต์ได้ก็จะเป็นการส่งเสริมคงามยั่งยืนได้ ซึ่งการที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จก็ไม่ได้มีกรรมวิธียุ่งยาก เพียงแค่ทางโรงสีให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาปรับระบบให้มีประสิทธิภาพและพลังงานสามารถนำมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง เลี่ยงที่จะใช้ถ่าน ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์เดนิมสุดคลาสสิกอย่าง Levi's ที่เป็นเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ให้ความสําคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
2. แรงงานและสิทธิสตรี
พนักงานโรงงานทำผลิตเสื้อผ้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและยังเป็นผู้ใช้แรงงานได้ค่าแรงน้อยที่สุดในโลกอุตสาหกรรมแฟชั่นเปรียบเสมือนจุดศูนย์รวมของการใช้แรงงานผู้หญิงและเด็ก อ้างอิงจากกรมแรงงานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่กรุงเดลิก็มีผู้ใช้แรงงานมากกว่า 40 คนที่เสียชีวิตจากการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปล่อยภัยภายในโรงงาน วีธีการแก้ไขปัญหาเรื้อรังนี้คือการทำรีพอร์ตเรื่องจำนวนของพนักงานโรงงานที่ได้ค่าแรง
ซึ่งโรงงาน Oxfam ได้เผยว่าการที่ทางแบรนด์ได้รวมค่าแรงเข้ามาไว้ภายในซัพพลายเชนนั้นมีมูลค่าน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซนต์ของเสิ้อผ้าด้วยซ้ำ
3. การช้อปปิ้งไม่ได้ช่วยสนันสนุนความยั่งยืน
หลายคนเข้าใจว่าการช้อปปิ้งของที่ทำขึ้นมาจากวัสดุที่มีความยั่งยืนนั้นเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจและโลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น แต่เราเข้าใจผิดมาตลอด นับตั้งแต่ที่มีประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ ทุกแบรนด์ก็ต่างสร้างสรรค์คอลเลกชั่น ‘รักษ์โลก’ ใหม่ๆ มานำเสนอและเรียกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ว่า ‘sustainable fashion’ ซึ่งแท้จริงแล้วกระบวนการการผลิตก็มีผลกระทบต่อสองประเด็นแรกที่เรากล่าวถึงก่อนหน้านี้ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ได้เนื่องจากแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องเอาใจลูกค้า และว่าผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าก็คือกลุ่มลูกค้านั่นเอง และนี่คืหตุผลที่เราอย่างจะให้คุณมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงวงการนี้
ก้าวดข้าสู่ปี 2020 ด้วยแนวคิดใหม่ และมาตราฐานใหม่ไปกับ New Standard Institute ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับความยั่งยืนในวงการแฟชั่นได้ทางอินสตาแกรม @NSIFashion2030